20 ก.ย. 2553

เยี่ยมสวนลุงเจริญ ที่พะเยา

              ก่อนเริ่มงานอยากให้แม่บ้าน กับพ่อได้เห็นสวนพุทราจริงๆ เพื่อจะได้อนุมัติงบประมาณง่ายๆหน่อยครับ เลยพาไปดูงานสวน ลุงเจริญ คำโล อยู่ที่ บ้าน ดอกบัว อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ใกล้บ้านผมสุดละ
             ผมไปกันตอนเที่ยง กว่าจะหาบ้านแกเจอ ถามซะทั่วเลย ไปถึงหมู่บ้านแล้วก็ลองโทรศัพยืหาแกเบอร์ที่เจอในเน็ตแต่ไม่มีคนรับ เห็นสนพุทราอยู่หลังบ้านเลยลงไปถามคนแถวนั้น ก็ทราบว่าเค้ามีงานศพกัน แล้วลุงข้างบ้านแกก็อาสาไปตามให้ ใจดีมากเลยครับ เอ่อ  ..ช่วงรอนี่ อาจบอกว่าที่บ้านบัวนี่เค้าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างด้วยส่งเข้าประกวดระดับประเทสเลย ชาวบ้านสามัคคีกันมากเลยครับ ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นในบ้านนอกบ้านสะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบมากๆเลย สุดยอด สุโค้ยๆ ...มีการปลูกดอกไม้ข้างทาง ทุกที่มองไปแล้วสบายตาน่าอยู่จริงๆครับ แล้วเค้าก็ส่งเสริมให้มีการทำเกษตรพอเพียง ใช้วัสดุเหลือใช้ให้เป็นประโยชน์ ..ผมก็นั่งคุยกะ ลุง กะป้าแกไปเรื่อย ตาก็มอง ไปทั่ว ไปเห็น การทำแก๊ซ ชีวภาพใช้ในครัวเรือนด้วยเลยขออนุญาติถ่ายรูปไว้ครับ เลยได้มีโอกาส เอามาโชว์






จาก สวนเกษตรในแบบของผม

จาก สวนเกษตรในแบบของผม
จาก สวนเกษตรในแบบของผม
จาก
จาก สวนเกษตรในแบบของผม

จาก สวนเกษตรในแบบของผม

อันสุดท้ายนี่เป็นส่วนที่ทำการมักแล้วนะครับ เอาไปทำเป็นปุ๋ยหมักสุดยอดเลย  

ส่วนรายละเอียดบ้าน ดอกบัว หมู่ที่ 4 ต.บ้านตุ่น อ.เมืองพะเยา จ.พะเยาเป็นชุมชนต้นแบบ และเป็นชุมชนแห่งองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้สนใจทั่ว ติดตามได้>>>ตามนี้เลยครับ >>> บ้านดอกบัว ชุมชนเกษตรพอเพียง

 พอลุงเจริญมา แกก็พาดิ่งไปสนพุทราหลังบ้านแกทันทีเลยครับ แกก็อธิบายโน้น นี่ นั้น สุดแต่ว่าเราจะถามแกตอบหมดแบบไม่หวงวิชา แถมชวนเราปลูกซะด้วย ไม่กลัวล้นตลาดหรอ ลุง อิอิ แกน่ารักและใจดีมากๆครับ 


 
จาก สวนเกษตรในแบบของผม
เสื้อแดงนี่ไม่ใช่ไครอื่น แม่บ้านผมเองครับ สนใจถามใหญ่เลย อิอิ





















จาก สวนเกษตรในแบบของผม
ลุงเจริญ ใช้พื้นที่ได้คุ้มจริงๆ แกเลี้ยงไก่ไว้ใต้ร้านพุทราด้วย แกบอกว่า จะย้ายเล้าไปเรื่อยๆ เดือนละครั้ง ประโยชน์ที่ได้คือ ได้ ขี้ไก่ใส่สวนแบบไม่ต้องเหนื่อย  ไก่ กินแมลงให้ด้วย เราได้กินไก่ด้วย อันหลังนี่ผมชอบ อิอิ สวนพุทราแบบปลอดสารพิชจริงๆ
จาก สวนเกษตรในแบบของผม

จาก สวนเกษตรในแบบของผม
มีกับดับแมลงวันทองตัวร้ายไว้ด้วยครับ


จาก สวนเกษตรในแบบของผม

เหลือขายไม่ทัน มันล่วง แกก็เอามาทฃำน้ำหมักป้าเซ็ง เอ้ย..น้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ได้อีก พอสมใจแล้วก็ต้องขอตัวลากลับ และก็ฝากบอกแกไว้ว่าเดี๋ยวช่วงพุทราออกจะมาเยี่ยมใหม่ครับ อิอิ กะมากินของฟรีนะนี่ เพราะมาคราวนี้ พุทราหมดฤดูพอดีเลย อด  

บทความโดย :นายโด่ง

18 ก.ย. 2553

ปลูกพุทรานมสด ทางรอดเกษตรกร “วังน้ำเขียว”

โดย บ้านเมืองออนไลน์ 

ปลูกพุทรานมสด ทางรอดเกษตรกร “วังน้ำเขียว”

ลูก ข้าวเหนียวจากแดนถิ่นอีสาน “ลุงหอม บุญหล้า” เกษตรกรวัยใกล้ 60 ที่หนีความแร้นแค้นมาตั้งรกรากอยู่ในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดินนิคมเศรษฐกิจพอ เพียงวังน้ำเขียว ท้องที่ ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ด้วยยึดอาชีพปลูกมันสำปะหลังบนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัวมาเกือบ 20 ปี

แม้จะยึดอาชีพปลูกมัน สำปะหลังมานาน แต่ก็ไม่มีเงินเก็บ เพราะรายได้จากการขายผลผลิตส่วนใหญ่มักจะถูกจ่ายไปเป็นค่าต้นทุนการผลิต อาทิ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงงาน ขณะที่มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ โดยเฉพาะมันสำปะหลังขายได้ราคากิโลกรัมละ 2 บาทเท่านั้น

หลังจาก สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เข้าไปรณรงค์ให้ชาวบ้านที่อาศัยในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดินหันมาปลูกพืช เศรษฐกิจตัวใหม่ “พุทรานมสด” แทนการทำไร่มันสำปะหลัง ตามยุทธศาสตร์การตลาดนำการผลิต เนื่องจากพืชดังกล่าวให้ผลตอบแทนสูง และเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่และภูมิอากาศอย่างวังน้ำเขียวที่ค่อนข้างหนาว เย็นเกือบตลอดทั้งปี

ลุงหอม บุญหล้า เกษตรกรวัย 58 ปี หนึ่งในเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการทำสวนพุทรานมสด ยอมรับว่า เริ่มปลูกพุทรามาเกือบ 3 ปี ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. หลังปลูกได้ประมาณ 7 เดือน พุทราก็เริ่มให้ผลผลิต ที่ประมาณ 960 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นการให้ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นทุกปี

“เมื่อปี 2549 ผลผลิตจะอยู่ที่ 950 กิโลกรัมต่อไร่ พอมาปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 3,200 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ผมมีรายได้ประมาณ 8 หมื่นบาทต่อไร่ ขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ 21,600-25,000 บาทต่อไร่ ดีกว่าทำไร่มันสำปะหลังมาก เพราะพืชพวกนี้จะหมดไปกับค่าปุ๋ยค่ายาเป็นส่วนใหญ่”

ส่วนเรื่องการ ตลาดนั้น เจ้าของสวนพุทรานมสดรายเดิมระบุว่า ขณะนี้ไม่มีปัญหาจะมีบริษัทมารับซื้อถึงที่ในราคา (ส่ง) กิโลกรัมละ 25-30 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกรดของผลไม้ด้วย จึงไม่ค่อยกังวลในเรื่องนี้ เนื่องจากขณะนี้พุทรานมสดยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก

“พุทราของ ผมตอนนี้มีอยู่ 5 ไร่เศษ ก็คงไม่ขยายพื้นที่เพิ่ม แต่จะทำอย่างไรที่จะทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น แล้วก็มาดูเรื่องต้นทุน ตอนนี้ยังต้องพึ่งปุ๋ยเคมีอยู่บ้าง ต่อไปจะผลิตปุ๋ยเองจากมูลวัวที่เลี้ยงไว้เพื่อจะได้ลดต้นทุนในส่วนนี้ลง” ลุงหอม กล่าวย้ำ

ด้าน “พยุงค์ มงคล” เกษตรกรวัย 56 ปี ที่ประสบปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำจึงผันตัวเองมาปลูกผลไม้ชนิดนี้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

ถึงวันนี้การตัดสินใจของพยุงค์ ถือเป็นความโชคดีอย่างมาก เพราะพุทรานมสดเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยม ทำให้เขามีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตปีละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ขณะที่ลงทุนเพียง 3-4 หมื่นบาทต่อปี

พยุงค์ เล่าว่า เดิมทีปลูกพืชไร่ อาทิ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ซึ่งมีต้นทุนสูงแต่ได้กำไรน้อยบวกกับราคาผลผลิตตกต่ำ จึงหันมาปลูกพุทรานมสด ปี 2549 หลังได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.ว่าพืชดังกล่าวให้ผลตอบแทนสูง เติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น ให้ผลผลิตราว 3,800 กก.ต่อไร่ มีรายได้กว่า 1.8 แสนบาทต่อไร่

ส่วน ขั้นตอนการปลูกนั้น เนื่องจากพุทราเป็นไม้ผลที่มีพุ่มกว้างจึงควรบังคับทรงพุ่มอย่างต่อเนื่อง และเว้นช่องทางเดิน ตลอดจนความกว้างความลึกของหลุมปลูก ให้อยู่ในรัศมีไม่เกิน 50 ซม. แล้วนำปุ๋ยหมักที่มีส่วนผสมของรำละเอียด แกลบดำ แกลบขาว มูลสัตว์ คลุกผสมกากน้ำตาลและอีเอ็มชีวภาพ ผสมกับดินในอัตราส่วน 50 ต่อ 50 ใส่ให้เต็มหลุมแล้วนำกล้าพุทราลงปลูก

“ระยะ แรกของการปลูกต้องให้น้ำทุกวันจนกว่าต้นจะตั้งตัวได้ เมื่อต้นพุทราตั้งตัวได้แล้วเริ่มให้ปุ๋ยนมสด ผสมนมเปรี้ยว กากน้ำตาล อีเอ็ม ผลไม้หมัก เศษอาหารหมัก ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:20 ฉีดให้ทั่วลำต้น และฉีดเข้าใต้ดินระยะห่างจากโคนต้น 30 ซม.เป็นระยะๆ จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งปุ๋ยนมสดนี้จะมีส่วนทำให้พุทราหวานกรอบ”

ทั้ง นี้ พุทราเมื่อออกดอก ติดผล จะมีแมลงวันทองตอม แก้ได้โดยปุ๋ยนมสดฉีดพ่นตามต้นและใบกับฉีดลงโคนต้น หรือใช้น้ำหมักสมุนไพรจากใบสะเดาผสมปุ๋ยอินทรีย์น้ำฉีดพ่น จะช่วยให้ติดผลดก ลูกโต ผิวสวย กรอบ อร่อย โดยช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม จะมีลูกค้ามารับซื้อถึงหน้าสวนในราคา 40-50 บาทต่อ กก.

ด้าน อนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวเสริมว่า หลังจากที่ ส.ป.ก.ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับบริษัท กรีนเฟรช อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ภายใต้โครงการความร่วมมือ ไตรภาคี (พุทรานมสด) เพื่อปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรเชิงการตลาดนำการผลิตในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ปลูกพุทรานมสดเป็นพื้นที่นำร่อง ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 ขณะนี้ประสพผลสำเร็จเป็นอย่างดี

“ขณะ นี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 78 ราย พื้นที่เพาะปลูก 322 ไร่ และจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ทำให้เกษตรกรมีรายได้ประมาณ 16,198 บาทต่อไร่ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งดินและสภาพอากาศ ส่งผลให้ผลผลิตในพื้นที่ จ.นครราชสีมา มีผลผลิตสูงกว่าที่อื่นๆ” เลขาธิการ ส.ป.ก.เผย พร้อมย้ำถึงการจัดหาแหล่งเงินทุนกู้ยืมให้แก่เกษตรกรในโครงการจะใช้เงินจาก กองทุนเขตปฏิรูปที่ดินที่พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูป ที่ดินอยู่แล้ว

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพุทรานมสด 700-800 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตปีละ 280 ตัน สัดส่วน 70% ป้อนตลาดภายในประเทศ และ 30% ส่งออก เนื่องจากปริมาณผลผลิตน้อย บริษัทกรีนเฟรชฯ จึงส่งออกเฉพาะประเทศมาเลเซียก่อน ขณะที่หลายประเทศสนใจที่จะนำเข้ามากขึ้น โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์ ไต้หวัน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภายใน 2 ปีข้างหน้า คาดว่าจะเพิ่มปริมาณสินค้าและขยายการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวได้ ซึ่งอนาคตคาดว่าจะสามารถแข่งขันกับแอปเปิ้ลได้ และมีแนวโน้มดีด้วย อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องพัฒนาระบบการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำเข้า

ขณะนี้ผล ผลิตเริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้ว ถือเป็นผลไม้ที่ผู้บริโภคมีความต้องการสูง โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน จีน แคนาดา ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ขณะที่ตลาดภายในประเทศก็ตอบรับดีเช่นกัน โดยบริษัท กรีนเฟรชฯ ได้ป้อนผลผลิตพุทรานมสดให้กับห้างเทสโก้โลตัส ซึ่งมีออร์เดอร์วันละ 7 ตัน แต่เกษตรกรยังผลิตได้ไม่พอกับความต้องการของตลาด หากสามารถขยายพื้นที่ปลูกและเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้น อนาคตเชื่อว่าพุทรานมสดจะสามารถแข่งขันกับผลไม้นำเข้า เช่น แอปเปิ้ลจากจีน ได้อย่างแน่นอน

พุทรานมสดสามารถปลูกได้ทั้งในที่ดอนและที่ราบลุ่ม ยกเว้นพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวและดินทรายล้วนปลูกไม่ได้ สภาพอากาศในช่วงกลางวันและกลางคืนควรมีอุณหภูมิแตกต่างกัน 10 องศาเซลเซียสจะดีที่สุด เพราะจะช่วยให้ความหวานของพุทราเพิ่มขึ้น 2 บริกซ์ ถ้าอุณหภูมิไม่แตกต่างกัน ความหวานจะเฉลี่ยอยู่ที่ 11 บริกซ์

หากมี โอกาสเดินทางไปแถบ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา สามารถแวะเยี่ยมเยือนไร่พุทรานมสดของคุณลุงหอมได้ หรือถ้าสนใจเกี่ยวกับการปลูกพุทรานมสด สามารถสอบถามได้ที่ โทร.08-1264-9722

ณัฐพงศ์ (ศุภชัย) อรชร/นครราชสีมา

16 ก.ย. 2553

ปัญหาโรคและแมลงกับพุทรา

ปัญหาด้านโรคและแมลงที่สำคัญได้แก่
 
1.โรคราแป้ง 

2.โรคผลเน่าและใบจุด 

3.โรคแอนแทรคโนส 

4.โรคราสนิม 

5.เพลี้ยแป้ง,เพลี้ยหอย,เพลี้ยไก่ฟ้า 

6.หนอนเจาะผล 

7.หนอนแดงพุทธา 

8.หนอนกินใบ 

9.มวนลำไย

15 ก.ย. 2553

ชมรมเผยแพร่ฯ กับการจัดการสวนพุทราไต้หวันแบบประสบการณ์

 ชมรมเผยแพร่ฯ กับการจัดการสวนพุทราไต้หวันแบบประสบการณ์

ถึง แม้ว่าการปลูกพุทราไต้หวันในประเทศไทยจะมีการใช้สารเคมีน้อยกว่าไม้ผลหลาย ชนิด แต่สิ่งสำคัญก็คือ จะต้องมีการจัดการสวนที่ดี โดยเฉพาะเรื่องระบบการให้น้ำจะต้องมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการให้อย่างสม่ำเสมอในช่วงระยะเลี้ยงผล โดยปกติแล้วต้นพุทราจะสามารถออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี แต่จากการปฏิบัติจริงนั้นควรจะเลี้ยงผลให้แก่และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูหนาว น่าจะเหมาะสมที่สุด โดยให้ผลผลิตพุทรารุ่นแรกแก่ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนและไปเก็บเกี่ยวผลผลิต รุ่นสุดท้ายไม่ควรเกินกลางเดือนกุมภาพันธ์หรือเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ไม่แนะนำให้มีการเลี้ยงผลและให้ผลผลิตแก่ในช่วงฤดูฝน เพราะจะพบปัญหาเรื่องแมลงวันทองเจาะทำลาย และจะใช้สารฆ่าแมลงในปริมาณมาก อีกทั้งผลผลิตพุทราที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝนจะมีรสชาติไม่อร่อย

ปัจจุบัน ทางแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ปลูกพุทราพันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้ ในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ จำนวน 60 ต้น อายุต้นประมาณ 4 ปี ขายผลผลิตในตลาดท้องถิ่นที่จังหวัดพิจิตร ในราคาขายจากสวนเฉลี่ย 20 บาท ต่อกิโลกรัม ในแต่ละปีผลผลิตพุทราซุปเปอร์จัมโบ้สร้างรายได้ดีพอสมควร ดีกว่าไม้ผลอีกหลายชนิดที่ปลูกในพื้นที่เท่ากัน สิ่งที่ผู้เขียนขอย้ำสำหรับเกษตรกรไทยที่คิดจะปลูกพุทราไต้หวัน ในแต่ละครอบครัวนั้นควรจะปลูกในพื้นที่ไม่มากนัก เนื่องจากพุทราไต้หวันเป็นสายพันธุ์ที่ดกมาก เมื่อถึงผลผลิตแก่จะเก็บเกี่ยวไม่ทัน ผลผลิตจะเสียหายมาก เกษตรกรผู้ปลูกจะต้องมีความประณีตและพิถีพิถัน เกษตรกรผู้ปลูกควรจะเน้นผลิตเพื่อขายตลาดท้องถิ่นเป็นสำคัญ หัวใจสำคัญของการปลูกพุทราไต้หวันเกษตรกรจะต้องมีการตัดแต่งกิ่ง โดยตัดให้เหลือส่วนของต้นเหนือพื้นดินขึ้นมาอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และควรจะตัดแต่งในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี บำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีอย่างเต็มที่ เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์และแข็งแรง พร้อมต่อการให้ผลผลิตในฤดูกาลต่อไป การตัดแต่งแบบนี้จะช่วยลดการระบาดของแมลงวันทองได้เป็นอย่างดี

จาก สวนเกษตรในแบบของผม

การขยายพันธุ์พุทราไต้หวัน

การ ทาบกิ่ง คือ การยกต้นตอพุทราป่าที่มีอายุ 8-9 เดือน (ขนาดเท่าไม้เสียบลูกชิ้นก็เริ่มนำมาใช้ได้) ขึ้นไปทาบบนต้นพุทราไต้หวันพันธุ์ดี เกษตรกรบางรายอาจจะใช้วิธีการนำไม้ค้ำต้นตอที่ขึ้นไปทาบหรืออาจใช้นั่งร้าน แขวนตุ้มต้นตอ การทาบกิ่งพุทราจะต้องใช้ฝีมือค่อนข้างประณีต เนื่องจากกิ่งพุทราพันธุ์ดีที่จะทาบจะมีขนาดเล็กและเหตุผลที่เลือกยอดพันธุ์ ที่มีขนาดเล็ก เพราะพุทราเจริญเติบโตเร็วมาก หากคัดเลือกยอดขนาดใหญ่ถึงแม้จะสะดวกต่อการทาบกิ่งก็จริง เมื่อถึงเวลาตัดกิ่งทาบลงมาจะได้พุทราที่มีขนาดของต้นใหญ่เกินไป ต้นตอจะรับน้ำหนักไม่ได้ วิธีการทาบกิ่งแบบยกต้นทาบนี้ใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน แผลจึงจะเริ่มสนิทกันแน่น ก่อนตัดกิ่งทาบลงมาอนุบาลต่อจะต้องควั่นเตือนใต้กิ่งพุทราพันธุ์ดีก่อนที่จะ ตัด ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นนำไปพักฟื้นต้นไว้อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ใต้ตาข่ายพรางแสงเมื่อเห็นว่าต้นพุทรามีความแข็งแรงดี ก็นำไปปลูกได้ สำหรับการขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งคือ การขยายพันธุ์พุทราแบบต่อยอด เกษตรกรจะต้องคัดเลือกนำเอาต้นตอพุทราป่าที่มีอายุต้น ประมาณ 8-9 เดือน (ต้นตอที่มีขนาดใหญ่จะต่อยอดได้ง่าย) ถุงที่ใช้เพาะต้นตอไม่ควรใช้ถุงที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะเมื่อนำมาอบในถุงพลาสติคจะได้ประหยัดถุงสำหรับอบ สำหรับยอดพันธุ์ดีพุทราไต้หวันจะต้องคัดเลือกยอดจากกิ่งกระโดง ไม่ควรใช้ยอดที่เกิดจากกิ่งแขนงที่ห้อย เนื่องจากเมื่อต่อติดแล้วนำไปปลูกในแปลงพบว่า ต้นจะเจริญเติบโตได้ช้ามาก ในกรณีที่มีต้นพันธุ์พุทราไต้หวันน้อยให้นำยอดพันธุ์มาตัดเป็นท่อนๆ ได้ ให้มีตาอย่างน้อยสัก 2 ตา หลังจากต่อยอดเสร็จ นำไปอบในถุงพลาสติคขนาดใหญ่ ใช้เวลาอบนานประมาณ 30-45 วัน มีข้อแนะนำว่าอย่ารดน้ำต้นตอจนแฉะเกินไป จะเกิดความชื้นในถุงอบมากเกินไป ทำให้เกิดเชื้อราเข้าแผลเน่า ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การติดน้อย ควรให้ดินของต้นตอมีความชื้นหมาดๆ ก็เพียงพอ สถานที่อบควรพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 70% หลังจากอบได้เวลา ค่อยๆ เปิดปากถุงทีละน้อย ในช่วงตอนเย็นทิ้งไว้อย่างนั้น 2-3 วัน จึงนำมาอนุบาลในตาข่ายพรางแสงต่อ

จาก สวนเกษตรในแบบของผม

เทคนิคการเพาะเมล็ดพุทรา เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์

เมล็ด พุทรา ที่แนะนำให้มาใช้เพื่อทำต้นตอแนะนำให้ใช้เมล็ดพุทราจะดีที่สุด เมื่อเกษตรกรได้เมล็ดพุทรา ถ้าต้องการให้งอกเร็ว "เกษตรกรจะต้องทุบเอาเมล็ดข้างใน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดกระถิน" เมื่อนำมาเพาะใส่ในถุงดำ จะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน เท่านั้น เมล็ดจะเริ่มงอก แต่ถ้าเพาะเมล็ดที่ไม่ได้ทุบจะใช้เวลานานนับเดือนกว่าเมล็ดจะงอกออกมา สำหรับอีกวิธีหนึ่งในการเพาะเมล็ดพุทราป่า โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน "เกษตรกรนำผลพุทราป่าที่สุกแล้วนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารให้วัวหรือควายกิน เมื่อวัวและควายถ่ายมูลออกมา นำมูลที่มีเมล็ดพุทราติดมาไปหว่านในแปลงเพาะรดน้ำให้ชุ่มเมล็ดพุทราจะงอกออก มาภายใน 7 วัน" ต้นตอพุทราที่จะใช้ในการขยายพันธุ์จะต้องมีอายุ ประมาณ 8-9 เดือน

จาก สวนเกษตรในแบบของผม

เทคนิคการฉีดพ่นสารเคมีในการปลูกพุทราไต้หวัน

สาร ปราบศัตรูพืชที่ใช้ในการฉีดพ่นให้กับพุทราไต้หวัน จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ถูกต้องและเหมาะสม จึงจะได้ผลผลิตที่ดี คุ้มต่อการลงทุน ถึงแม้พุทราจะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสารเคมี แต่ในช่วงออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต การใช้สารเคมีจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จะต้องฉีดพ่นสารเคมีให้ถูกต้อง หากเลือกใช้สารเคมีไม่ถูกจะมีผลทำให้พุทราได้รับผลกระทบเสียหายได้ เช่น ใบไหม้ ผลลาย ผิวดำ ผิวตกกระ เป็นขี้กลาก ผลเล็ก ผลบิดเบี้ยว และผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เป็นต้น

จาก สวนเกษตรในแบบของผม

ข้อควรระวังในการใช้สารเคมี

กับการปลูกพุทราไต้หวันจากประสบการณ์จริง


1. สารเคมีที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ฮอร์โมน และสารกำจัดศัตรูพืชที่ฉีดพ่นระยะพุทราออกดอกและติดผล ควรหลีกเลี่ยงยาที่เป็นน้ำสีดำหรือผสมน้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ

2. หลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของน้ำมัน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยาร้อน"

3. สารเพิ่มประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่า "สารจับใบ" ควรลดอัตราการใช้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราที่แนะนำ

4. หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผึ้งหรือแมลงที่มาช่วยผสมเกสรในช่วงออกดอก

5. ควรฉีดพ่นสารเคมีให้กับพุทราไต้หวันในตอนเช้า ในกรณีที่มีปุ๋ยทางใบและฮอร์โมนผสมด้วย ควรปรับหัวฉีดให้ฝอย แรงดันเหมาะสม หัวฉีดที่พ่นสารเคมีควรฉีดอยู่ห่างจากช่อดอก ประมาณ 1 เมตร ป้องกันการกระแทก ทำให้ดอกร่วง

6. ในช่วงฝนตกชุก โรคระบาดมาก ควรมีการฉีดพ่นตอนเย็น

สาร เคมีที่แนะนำให้ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงในการปลูกพุทรา ในระยะออกดอกและติดผล ได้แก่ โปรวาโด, S-85 ฯลฯ สำหรับโรคสำคัญที่มักพบกับพุทรา ได้แก่ โรคแอนแทรกโนส ราดำ ฯลฯ ยาโรคพืชที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ ฟลิ้นท์-แอนทราโคล (โดยเฉพาะในช่วงออกดอกติดผล และมีฝนตกมาอย่างต่อเนื่อง การฉีดพ่นสารฟลิ้นท์+แอนทราโคล จะช่วยทำให้การติดผลดีขึ้นมาก และดอกสะอาด) เมเจอร์เบน คาร์เบนดาซิม ฯลฯ ควรงดยาเชื้อราที่เป็นน้ำมัน

ปัญหา พุทราช่วงระยะออกดอกมักพบปัญหาไม่ติดผล ออกดอกแล้วร่วง อาจเป็นเพราะต้นยังไม่สมบูรณ์ ฝนตกชุก โรคระบาดรุนแรง หรือไม่มีแมลงผสมเกสร ทางชมรมเผยแพร่ฯ มีเคล็ดลับในการดูแลรักษาให้พุทราติดผลและผลผลิตมีคุณภาพ ดังต่อไปนี้

1. หลังตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยขี้วัวเก่า 10-20 กิโลกรัม (อายุ 1 ปี ขึ้นไป) และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

2. ช่วงบำรุงเลี้ยงต้นให้สมบูรณ์ 1-2 เดือนครึ่ง หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จ ใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง สลับกับสูตรเสมอ เช่น 25-7-7, 16-16-16 ฯลฯ พร้อมกับฉีดพ่นปุ๋ยทางใบหรือฮอร์โมนพวกสาหร่าย เช่น แอ๊กกรีนผสมกับปุ๋ยน้ำ สูตร 18-6-6, 28-0-0, 12-12-12 ฯลฯ

3. ช่วงบำรุงดอก ปุ๋ยทางดิน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24, 10-26-26 ฯลฯ ปุ๋ยทางใบฉีดพ่น สะสมและบำรุงดอก เช่น เฟอร์ติไจเซอร์ สูตร 10-52-17, 5-20-25 ไบโฟลานเหลือง ฯลฯ

4. ช่วงติดผล ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรเสมอ เช่น 16-16-16, 19-19-19 ฯลฯ ทางใบฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ สูตร 12-12-12 +แคลเซียมโบรอนอี เพื่อให้ผลติดมากขึ้นและขยายขนาดผลให้โต

5. เมื่ออายุผลพุทรา 60 วัน ขึ้นไป ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรที่มีตัวท้ายสูง เช่น สูตร 10-26-26, 13-13-21 ปุ๋ยทางใบใช้ปุ๋ยน้ำ สูตรเสมอ เช่น 12-12-12 ไฮโปส ก่อนเก็บเกี่ยว อายุ 3-4 เดือน ให้ฉีดพ่นโพแทสเซียมไนเตรต เพื่อเร่งความหวาน ปุ๋ยทางดินต้องใส่บ่อยครั้งขึ้นทุก 15 วัน เน้นปุ๋ยตัวท้ายสูงเพื่อเพิ่มความหวาน เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21, 0-0-60 ฯลฯ

เป็น ที่สังเกตว่า การปลูกพุทราไต้หวันในประเทศไทยขณะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักคือ พันธุ์ซื่อมี่ หรือพันธุ์นมสด มีพื้นที่ปลูกมากในเขตภาคหนือตอนบน สำหรับพันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้ที่มี คุณวารินทร์ ชิตะปัญญา เป็นผู้บุกเบิกการปลูกและมีปลูกกระจายในหลายพื้นที่ของภาคกลาง การปลูกพุทราไต้หวันให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีการจัดการสวนที่ถูกต้อง มีระบบการให้น้ำที่ดีและให้ปุ๋ยที่ถูกต้องถึงจะได้พุทราที่มีคุณภาพดี ผู้เขียนยังมีความเชื่อว่าพุทราที่มีคุณภาพดีและรสชาติอร่อยจะไม่มีปัญหา เรื่องการตลาด อย่างไรก็ตาม จากการผู้ที่เขียนได้มีโอกาสไปดูงานการปลูกพุทราที่ประเทศไต้หวันและได้ทด ลองซิมพุทรา พันธุ์ "มิ่งเฉา" จะต้องยอมรับว่ารสชาติอร่อยมาก วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว โดยเก็บพุทราเข้าห้องเย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อชะลอการขายเป็นเรื่องใหม่ที่เกษตรกรผู้ปลูกพุทราไต้หวันควรจะนำไป ปฏิบัติต่อได้

บทความโดย : ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ
รูปประกอบ    : อินเตอร์เน็ต 

13 ก.ย. 2553

ประสบการณ์ตรงโดยลุงคิม(พุทรา)

 ลุงคิม kimzagass
ประสบการณ์ตรง :

..... เป็นผลไม้ที่มีชื่อหลากหลาย ต่างคนต่างตั้งชื่อกันเองตามใจชอบทั้งๆ ที่เป็นสายพันธุ์เดียวกัน ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อต้นพันธุ์มาปลูก ต้องยึดหลัก "ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ดูให้แน่ดูถึงยาย....ซื้อต้นไม้ไปให้ถึงสวน ชมและชิมผลจากต้นแม่" นั่นแล.....พุทราจัมโบ้. แนะนำสายพันธุ์ทรงผลแป้นๆ แป้นเหมือนผลแอปเปิ้ล.เท่านั้น แล้วจะไม่ผิดหวัง

..... สายพันธุ์ "พุทรานมสด" ที่ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี แท้จริงคือพันธุ์ "จัมโบ้" ทรงผลแป้นธรรมดาๆ แต่เจ้าของบำรุงด้วย "นมสด" ประจำ ทำให้เนื้อแน่น กรอบ แต่ฉ่ำน้ำคล้ายนมสด ทำให้อร่อยไปอีกรูปแบบหนึ่ง.....พุทราทุกสายพันธุ์ตอบสนองต่อ "นมสด" ดีมากๆ

..... เลือกกิ่งพันธุ์ที่ "ตอน" จากยอดชี้ขึ้น เมื่อนำลงปลูกจะโตเร็ว อานยุ 6-8 เดือนออกดอกติดลผลได้ แต่ถ้าใช้ต้นพันธุ์ที่ "ตอน" จากกิ่งชี้ลง เมื่อนำลงปลูกจะโตช้า นั่งหลุม ออกดอกติดผลช้าด้วย

..... เทคนิคการปลูกแบบเสียบยอดบนตอพื้นเมือง นอกจากได้ระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารเก่งแล้ว ยังช่วยให้ต้นอายุยานนานอีกด้วย

..... เป็นผลไม้ที่ต้องห่อผล ถ้าไม่ห่อ นอกจากทำให้ผลไม่โตแล้ว คุณภาพเนื้อจะไม่ดี กลิ่นรสไม่ดี แถมมีแมลงวันทองเข้าทำลายอีกด้วย

..... การทำค้างแบบองุ่น แล้วบำรุงเลี้ยงกิ่งให้เจริญยาวอยู่บนค้างนั้น จะช่วยให้การทำงานสดวกและง่ายกว่าการปล่อยให้ต้นเจริญยาวทางสูงเหมือนไม้ผล ทั่วๆไป

..... ฯ ล ฯ


ลุงคิมครับผม 



ที่มา : http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=572

พุทรายักษ์ซุปเปอร์จัมโบ้ ทำเงินแสน ที่พะเยา

การุณย์ มะโนใจ

พุทรายักษ์ซุปเปอร์จัมโบ้ ทำเงินแสน ที่พะเยา

มีเกษตรกรไทยได้นำเอาพุทรายักษ์สายพันธุ์ใหม่จากประเทศพม่ามาทดลองปลูกในไทยได้ผลผลิตมีขนาดผลใหญ่มาก มีรูปทรงคล้ายกับผลแอปเปิ้ล รสชาติหวาน กรอบ และมีน้ำหนักผลเฉลี่ย 5-7 ผล ต่อกิโลกรัม นับเป็นพุทราที่มีขนาดผลใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีการปลูกพุทราในประเทศไทย หลังจากนั้น ได้มีการเผยแพร่พุทราสายพันธุ์นี้ออกไปปลูกในหลายพื้นที่ทั่วประเทศผลตอบรับกลับมาว่าดีจริง สร้างรายได้ดีให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุกรายไป

ในขณะเดียวกัน ยังมีพุทรายักษ์อีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีการนำสายพันธุ์มาจากไต้หวัน มาทดลองปลูกในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและได้ตั้งชื่อสายพันธุ์ว่า "พุทรานมสด" ซึ่งที่จริงแล้วคือ พันธุ์ "ซื่อหมี่" เป็นพุทราที่มีทรงผลใหญ่ทรงกระบอก มีน้ำหนักผลเฉลี่ยใกล้เคียงกับพุทราซุปเปอร์จัมโบ้จากการสอบถามผู้ปลูกพุทราหลายคนพบว่า เมื่อนำพุทรานมสดมาปลูกในเขตที่มีอากาศร้อน เช่นพื้นที่บริเวณภาคกลาง หรือภาคเหนือตอนล่าง จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพด้อยกว่าที่ปลูกในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในขณะที่พันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้ปลูกได้คุณภาพดีในเกือบทุกพื้นที่ ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือหนาวก็ตาม

ปัจจุบัน พุทราพันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้ และพุทรานมสดได้เข้ามาแทนที่ตลาดพุทราสายพันธุ์อื่นๆ ที่ปลูกอยู่ในบ้านเรา แต่เกษตรกรจะต้องผลิตพุทราทั้งสองสายพันธุ์นี้ให้แก่และเก็บผลผลิตได้ในช่วงตลอดฤดูหนาว คือระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราคมของทุกปี จะได้พุทราที่มีรสชาติยอดเยี่ยมความจริงแล้วพุทราซุปเปอร์จัมโบ้เป็นพันธุ์ที่ออกดอกและติดผลดกมาก สามารถกำหนดการออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าผลิตให้ออกตลาดในช่วงฤดูฝนมักจะพบว่ารสชาติจืดและไม่อร่อยถึงแม้ว่าจะมีขนาดผลที่ใหญ่มากก็ตาม หลายคนไม่เชื่อว่าพุทราซุปเปอร์จัมโบ้ปลูกไปได้เพียงครึ่งปีจะเริ่มให้ผลผลิตในเชิงการค้าได้แล้ว ทำให้เป็นไม้ผลที่คืนทุนเร็วที่สุดชนิดหนึ่ง

มีคำแนะนำสำหรับเกษตรกรที่จะปลูกพุทรายักษ์ซุปเปอร์จัมโบ้ว่า ควรจะเตรียมต้นพันธุ์และเริ่มปลูกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน

พื้นที่ปลูกจะต้องมีแหล่งน้ำที่ดี ถ้าเป็นไปได้ติดระบบน้ำสปริงเกลอร์ ต้นละ 1 หัว ปลูกไปได้เพียง3-4 เดือน ต้นจะเริ่มออกดอกติดผล จะเก็บผลผลิตรุ่นแรกขายได้ในช่วงเดือนธันวาคมปีเดียวกันคือตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้เวลาเพียง 8 เดือน เท่านั้น

ปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรที่ปลูกพุทรายักษ์สายพันธุ์นี้ก็คือ การปลิดผลและในบางพื้นที่มีการห่อผล เนื่องจากเป็นพุทราที่ติดผลดกมาก ถ้าไม่ปลิดผลทิ้งบ้างถ้าเป็นต้นพุทราที่เริ่มปลูกใหม่อาจจะทำให้กิ่งฉีกขาดได้ ในช่วงเลี้ยงผลต้นพุทราจะต้องไม่ขาดน้ำ ถ้าปลูกทิ้งปลูกขว้างนอกจากจะผลไม่ใหญ่แล้ว เนื้อจะเหนียว แมลงศัตรูที่สำคัญอยู่ในช่วงออกดอกและเริ่มติดผลคือ เพลี้ยไฟและโรครา ถ้าเกษตรกรควบคุมเพลี้ยไฟไม่ได้ ผิวบริเวณที่ก้นผลจะลายทำให้ราคาตก เพราะผิวไม่สวย

คุณลุงเจริญ คำโล อยู่บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ซึ่งปลูกพุทราจัมโบ้อยู่เล่าให้ฟังว่า ที่จริงพุทราจัมโบ้ มันมีหลายสายพันธุ์ ที่ออกผลมีขนาดใหญ่เกือบเท่าผลแอปเปิ้ลก็มี แล้วก็ขนาดเล็กรองลงมาก็มี แต่ถ้าเป็นต้นกล้าเล็กๆ จะดูไม่ออกเลยทีเดียวและคุณลุงเจริญก็ได้ให้คำแนะนำมาว่า ถ้าอยากจะได้ไม้ผลที่ตรงตามเราต้องการละก็ ประการแรกต้องหาแหล่งผลิตให้ได้เสียก่อนว่าอยู่ที่ใด จากนั้นเข้าไปเจรจากับเจ้าของสวนว่า ต้องการกิ่งพันธุ์จากต้นแม่ ถ้าตกลงกันได้ ก็ให้เขาขยายพันธุ์ให้ แล้วนัดวันกันมารับของ ราคาคุยกันเอาเอง หรืออีกวิธี ก็ต้องหาร้านที่มีชื่อเสียงที่ดี ซื่อสัตย์ต่อลูกค้าให้เขาหากิ่งพันธุ์ให้ พุทราเป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายปี แล้วก็ขึ้นในที่มีอินทรียวัตถุดีพอควร เพราะเขามีนิสัยคล้ายๆกับฝรั่ง คือให้ผลผลิตเร็วในเวลาไม่นาน แถมยังออกไม่เป็นรุ่นด้วย กิ่งไหนแก่ ก็ออกก่อน กิ่งเล็กกิ่งน้อยก็ชอบออกเรื่อยๆต้องมีการตัดแต่งกิ่งเสมอๆ ไม่ให้หนาแน่นทึบ

เนื่องจากพุทราเป็นไม้ผลที่มีพุ่มกว้างพอสมควร แต่ที่สวนของคุณลุงเจริญจะตัดแต่งและบังคับทรงพุ่มมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ให้เกินกว่า 3 เมตร แล้วเว้นระยะช่องทางเดินไว้ 1 เมตร ดังนั้น หลุมปลูกจึงมีระยะ 3 เมตร ต่อหลุม หรือต้น ทีนี้เมื่อเราได้ระยะแล้ว ก็ขุดหลุมเตรียมเหมือนฝรั่ง แต่ว่าหลุมพุทราจะกว้างและลึกกว่าฝรั่ง คือมีขนาดรัศมีวงกลม 50 เซนติเมตร และลึก ไม่เกิน 30เซนติเมตร เนื่องจากพุทรามีการเจริญเติบโตเร็วกว่าฝรั่ง รากจะเดินเร็วกว่า การกินอาหารก็กินมากกว่า ก็ต้องทำหลุมให้เขาใหญ่หน่อย จากนั้นก็ใส่อินทรียวัตถุและธาตุอาหาร อย่าลืมใบมะรุมแห้ง แต่ถ้าไม่มีก็เอาใบสะเดาแก่ใส่ลงไปคลุกให้เข้ากัน แล้วเอาต้นพันธุ์ลงปลูกเหมือนฝรั่ง

วิธีการดูแลในระยะนี้อย่าขาดน้ำ ต้องมีการให้สม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น พุทราไม่ชอบน้ำแฉะ ช่วงสัปดาห์แรก ให้น้ำเปล่าๆ ก่อน พอเห็นว่าไม่เฉา อยู่รอดได้แน่ ทีนี้ก็เริ่มให้สารอาหารทางใบปุ๋ยเป็นน้ำชีวภาพทำเอง 2 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนเช้าช่วงที่รู้สึกว่าแดดจะเริ่มร้อนแต่อย่าให้เกินเที่ยง ทุกๆ 5 วัน ทำครั้งหนึ่ง

สมุนไพรก็ทำเอง ฉีดพ่นในช่วงเย็นๆ แดดร่มลมตก ใช้สัก 5 ช้อนแกง ผสมกับน้ำเปล่า 20 ลิตรให้ทุกๆ 3 วันครั้ง

ทางดินไม่ต้องไปใส่อะไร นอกจากให้น้ำวันเว้นวันพอให้หน้าดินชื้น แค่นี้เดี๋ยวก็แตกก้าน แตกใบอ่อน แล้วทีนี้พอพุทราเริ่มโต สูงประมาณ 80 เซนติเมตร ก็เริ่มตัดแต่งกิ่ง ระวังกิ่งที่ออกใหม่ มันจะยาวแถมเรียวอีกด้วย หากยาวมากเกินงามก็เล็มๆ ออกบ้าง ช่วงนี้พุทราก็จะออกดอกออกผล ก็อย่าไปเสียดายลิดออกให้หมด ขืนปล่อยไว้ด้วยความอยากได้ไวๆ ละก็ ต้นจะโทรมเร็ว

คุณลุงเจริญ บอกว่า ศัตรูในช่วงนี้คือ เพลี้ยอ่อน แต่จะเพิ่มเจ้าผีเสื้อสมุทร จะเข้ามาวางไข่ แถวๆใต้ใบ คอยสังเกตดูว่าใบไหน มันม้วนเป็นขนมทองม้วนละก็ใช่เลย จับเด็ดใบออกแล้วทำลาย ทางแก้ก็ไม่ยาก ให้น้ำพุทราตอนเย็นๆ รดให้ทั่ว ทั้งใต้ใบ บนใบ แค่นี้ก็พอ อยากรู้ว่าทำไมเหรอ ง่ายๆจำไว้ แมลงทุกชนิดที่ชอบวางไข่ ไม่ชอบพื้นผิวที่มีความเปียกชื้น นอกจากจะวางไข่ไม่ติดแล้ว ไข่ที่ถูกวางเมื่อโดนน้ำหรืความชื้นมันจะฝ่อ นี่แหละเจ้าพวกนี้มันถึงชอบวางไข่ใต้ใบ แต่ถ้าใครอยากจะใช้สมุนไพรด้วยก็ยิ่งดี

เอาสมุนไพรที่มีกลิ่นแรงๆ ฉุนๆ ที่สวนคุณลุงเจริญใช้สาบเสือ ข่า ตะไคร้หอม หางไหล แค่นี้ก็พอเอาตัวรอดได้

ช่วงระยะสะสมตาดอกเพื่อการออกดอกช่วงนี้พุทราที่เราปลูกก็เป็นสาวแล้ว พอที่จะออกดอกออกลูกได้ ทางดินก็หว่านปุ๋ยขี้วัว บางๆ ให้รอบ แล้วคลุมด้วยเศษใบไม้ รดน้ำแบบพอชื้น วันเว้นวัน ทีนี้ต้องหมั่นสังเกตดูเรื่อยๆ ว่า หากใบแก่ที่โคนกิ่งเริ่มมีสีดำ และใบอ่อนที่ปลายกิ่งเริ่มเขียวเข้ม นั่นก็แสดงว่า กิ่งนั้นพร้อมที่จะออกดอกแล้ว

ระยะออกดอกติดผล ไม่ต้องทำอะไรมาก คอยระวังเจ้าแมลงกินใบมันจะมากัดกิน นอกนั้นเชื่อหรือไม่ว่า จะมีของดีที่ไม่ได้เชิญ จะมาช่วยเราผสมเกสร นั้นคือ ผึ้ง ไม่รู้ว่ามาจากไหน คงจะแอบซ่อนตัวอยู่ใกล้ๆ แถวนั่นแหละ เพราะเวลาดอกบานแล้ว กลิ่นหอมก็ปล่อยให้บานไปเรื่อยๆ จนติดผล ส่วนทางดิน ให้น้ำแบบโชยๆ อย่าให้ขาดน้ำ พุทราขาดน้ำเมื่อใด ขาดใจเมื่อนั้น ระยะติดผลอ่อนที่สวนก็บำรุงเหมือนตอนดูแลระยะแรกเลย ง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก ทางดินรดน้ำพอชื้นวันเว้นวัน ถ้าฝนตกก็ไม่ต้องรด

ระยะบำรุงผล เมื่อผลเริ่มมีขนาดเท่าลูกมะนาว ช่วงนี้จะมีแมลงวันทองกับด้วงกัดใบ เพลี้ยไฟ จะมาเยี่ยมเยือน และก็มาเป็นทีมโดยมิได้นัดหมาย ก็ใช้สารชีวภาพที่ทำไว้ฉีดไล่แมลงทั้งหลาย ขณะเดียวกันก็คอยปลิดผลเหี่ยว ผลเสียรูปเสียทรงทิ้งลงตะกร้า อย่าทิ้งลงบนพื้น หากพบเห็นก็เอาโยนลงบ่อน้ำ หรือไม่ก็ทำบ่อซีเมนต์ใส่น้ำ เอาไว้ใส่ผลไม้ที่เสีย หรือถังทำปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ เพราะถ้าขืนทิ้งไว้บนดินล่ะก็เท่ากับเป็นการสร้างบ้านให้เจ้าพวกนี้มาอยู่

เนื่องจากพุทราไม่เหมือนผลไม้อื่นที่ต้องเก็บเกี่ยวก่อนผลแก่ได้ที่แล้วทิ้งให้ลืมต้น แต่พุทราจะเก็บก็เมื่อผลแก่เท่านั้น ข้อสังเกต คือ ผลจะมีผิวเป็นมันวาวและเนียน ไม่นวล สีจะออกเป็นสีเขียวตองอ่อนออกจางนิดๆ ถ้าสียังเข้มก็ยังไม่แก่

ข้อสังเกตในกิ่งเดียวกันจะมีลูกรุ่นอื่นออกตามมา ดังนั้น จึงต้องพิจารณาเอาเองว่า ถ้าต้องการเก็บไว้เพื่อเอาผล เราก็บำรุงดูแลต่อไป แต่ถ้าเห็นว่าสมควรจะต้องตัดแต่งกิ่ง ก็ให้ลิดลงเพื่อเตรียมทำกิ่งใหม่ได้

กิ่งพุทราจะยื่นยาวเป็นแนวตรง แต่เมื่อติดผลและผลมีขนาดใหญ่กิ่งก็จะโน้มลงมาเอง ให้เอาไม้ไผ่รวกมาทำเป็นคอกล้อมต้น นอกจากนี้ ยังจะช่วยประคองกิ่งไม่ให้ฉีกขาดได้ ปัจจุบัน คุณลุงเจริญเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ยวันละ 120 กิโลกรัม ในช่วงเดือน ธันวาคมถึงมกราคม 2 เดือน ก็ 60 วันผลผลิตรวม 7,200 กิโลกรัม เป็นเกรด เอ 30 เปอร์เซ็นต์ เกรดบี 70 เปอร์เซ็นต์ ราคาขายอยู่ที่25 และ 20 บาท ตามลำดับ ในพื้นที่ 3 ไร่ ทำรายได้ดีพอสมควร

ข้อปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว ให้ตัดแต่งกิ่งที่ให้ผลแล้วออก กิ่งกระโดง กิ่งไขว้ กิ่งที่ไม่พึงประสงค์ และยอดประธานที่เราต้องการควบคุมความสูง ทุกแผลที่ตัดให้ใช้สีน้ำมันทาปิดแผล เพื่อป้องกันโรคเข้าทำลาย

กรณีทำสาว สามารถตัดกิ่งทำสาวใหม่ได้ในตำแหน่งที่ต้องการ ตัดด้วนๆ เลยไม่ตายหรอก แต่ก่อนตัดต้องใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก พรวนดินกำจัดวัชพืช รดน้ำให้ชุ่ม ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ แล้วตัด และให้เหลือกิ่งใดก็ได้ที่มีใบเอาไว้ 1 กิ่ง หลังจากตอหรือกิ่งที่ถูกตัด เกิดใบอ่อนหรือกิ่งใหม่ออกมา จึงค่อยตัดกิ่งที่เอาไว้ออก

สนใจพุทราจัมโบ้แลกเปลี่ยนความรู้หรือดูงาน ติดต่อ คุณลุงเจริญ คำโล ตามที่อยู่ข้างต้น หรือที่เบอร์ โทรศัพท์ (054) 423-228 หรือ (081) 026-9336

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน

11 ก.ย. 2553

พุทราพันธุ์ มิ่งเฉา ที่ไต้หวัน

หลายคนยังไม่ทราบว่าไต้หวันเป็นประเทศที่มีสายพันธุ์พุทราดี ๆ มากมายหลายสายพันธุ์มีเกษตรกรไทยนำพันธุ์พุทราจากไต้หวันมาปลูกในบ้านเราจน ประสบผลสำเร็จหลายราย เนื่องจากพุทราไต้หวันมีขนาดของผลใหญ่มาก รสชาติดีและเป็นที่ต้องการของตลาด ในขณะเดียวกันที่ไต้หวันเองได้มีการพัฒนาสายพันธุ์พุทราอย่างต่อเนื่อง
   
อย่าง กรณีของพุทราพันธุ์ “มิ่งเฉา” ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาไทยเรียกว่าพันธุ์ “น้ำผึ้ง” เป็นสายพันธุ์ที่มีการปลูกมากที่สุดในไต้หวันด้วยคุณภาพที่เนื้อหวานและกรอบ มีรูปทรงเป็นรูปกระสวย ขนาดของผลใหญ่มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 5-6 ลูกต่อ 1 กิโลกรัมแตกต่างจากพันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้และพันธุ์นมสดที่มีปลูกอยู่ในบ้าน เราในขณะนี้
   
ในเรื่องวิธีการปลูกและบำรุงรักษาพุทราพันธุ์ “มิ่งเฉา” มีหลายเรื่องที่น่าสนใจที่นำมาประยุกต์ใช้ในบ้านเราได้ อาทิ อุณหภูมิของสภาพพื้นที่ปลูกเฉลี่ยไม่ควรสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยจะต้องไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส สภาพดินที่ใช้ปลูกพุทราที่ไต้หวันจะให้ความสำคัญในเรื่องของอินทรียวัตถุมาก โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ยคอก ค่าของความเป็นกรดและด่างของดินเฉลี่ย 6-6.5 (pH=6-6.5) เหมาะสมที่สุด
   
ต้นพุทราไม่ชอบสภาพดินเป็นกรด ถ้า สภาพดินมีค่า pH ต่ำกว่า 5 จะต้องใส่ปูนขาวก่อนปลูก นอกจากนั้นสภาพดินควรจะมีการระบายน้ำที่ดีถึงแม้จะเป็นสภาพที่ดอนควรจะทำ แปลงแบบยกร่องลูกฟูก แปลงปลูกพุทราหลายแปลงที่มีพื้นที่ปลูกไม่มากจะมีการกางมุ้งเพื่อป้องกัน แมลง เป็นที่สังเกตว่าการปลูกพุทราไต้หวันหลังจากที่เก็บ เกี่ยวผลผลิตเสร็จในแต่ละปี จะมีการตัดกิ่งทั้งหมดทิ้งให้เหลือเพียงต้นตอและกิ่งหลัก
   
หลัง จากนั้นจะมีการนำยอดหรือตาพันธุ์ดีมาเสียบใหม่ทุกปี สำหรับปุ๋ยเคมีที่ใช้ในการปลูกพุทราพันธุ์ “มิ่งเฉา” นั้นในช่วงแตกใบใหม่จะเน้นปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ในช่วง ติดผลจะเน้นธาตุโพแทสเซียม สำหรับการบริหารวัชพืชในแปลงปลูกพุทราจะไม่นิยมใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืช ทุกชนิด จะใช้วิธีการตัดหญ้าเนื่องจากที่ผ่านมาการใช้ยาฆ่าหญ้ามีผลกระทบต่อต้นพุทรา
   
การ ค้าขายผลผลิตพุทราพันธุ์นี้จะแบ่งออกเป็น 5 เกรด เกรดเอ มีน้ำหนักผลไม่ต่ำกว่า 150 กรัม และมีความหวานไม่ต่ำกว่า 13 เปอร์เซ็นต์บริกซ์, เกรดบี มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 130-150 กรัม ความหวานเท่ากับเกรดเอ สำหรับเกรดซี มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 110-130 กรัม, เกรดดี มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 90-110 กรัม และเกรดสุดท้ายมีน้ำหนักผลต่ำกว่า 90 กรัมลงมา และทั้ง 3 เกรดจะต้องมีความหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์ บริกซ์
   
ช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีจะเป็นช่วงที่คนไต้หวันนิยม บริโภคพุทรามากที่สุด และในช่วงเวลานั้นพุทราพันธุ์ “มิ่งเฉา” จะมีราคาแพงที่สุด.


ขอบคุณแหล่งที่มา/www.dailynews.co.th

8 ก.ย. 2553

การขยายพันธุ์พุทราไต้หวัน

ผมขออธิบายวิธีขยายพันธุ์เริ่มแรกแบบเป็นความรู้ก่อนนะครับ
1. ไปเก็บเมล็ดพุทราพื้นบ้านที่มันสุกหล่นจากต้น ตามป่า ริมถนนหนทาง(พุทราเปรี้ยวลูกเล็กใหญ่กว่าหัวแม่มือ)
2. เพาะเมล็ดใส่ถุงดำ เริ่มตั้งแต่ ธันวา มกราหรือช่วงนี้แหละ
3. ประมาณต้นเดือน มิ.ย. นำถุงต้นกล้าตามข้อ2ไปทาบกิ่งพันธุ์ดี ใช้เวลา2-3สัปดาห์กิ่งติดกันดีแล้วจึงตัดออกมาพักตัวในที่ร่ม 1-2 สัปดาห์ให้มันตั้งตัวได้(ช่วงนี้ลำต้นมันจะโตไม่เกินขนาดดินสอ ส่วนมากจะเล็กกว่าดินสอ)
4. ต้นก.ค.นำไปปลูกลงดิน ดูแลให้น้ำปุ๋ยอย่างดี ช่วงนี้ถ้ามีกิ่งแขนงที่แตกออกมาต่ำกว่ารอยทาบกิ่งให้เด็ดทิ้ง
5. ปีถัดไปต้นเดือนเมษา(ถึงช่วงนี้ลำต้นจะโตประมาณนิ้วก้อยถึงหัวแม่มือ) วัดระยะจากรอยทาบกิ่งยาวสูงขึ้นไป
    ประมาณ3ข้อนิ้วมือตัดต้นทิ้งให้เหลือแต่ตอ
6. ใส่ปุ๋ย ให้น้ำเต็มที่(หน้าฝนไม่ต้องให้น้ำ) มันจะแตกกิ่งอวบใหญ่หลายกิ่งเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ที่สุดและตั้งตรงไว้
     ไม่เกิน1-2 กิ่งปล่อยให้ยาวขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงระดับหน้าอกถึงสายตาจึงปล่อยให้มันแตกกิ่ง กิ่งที่มันแตกออกมา
      ต่ำกว่าระดับอกให้ลิดทิ้งตั้งแต่มันงอกใหม่ๆ ช่วงนี้หาไม้ไผ่มาทำค้าง
7.  เดือนกันยา-ตุลาเริ่มออกดอกและสามารถเก็บผลผลิตขายได้ช่วง พ.ย.-มี.ค. (แต่ผลผลิตจะได้เต็มที่เริ่มปีที่2-3
     ขึ้นไปจนถึง20-30ปี)
7. เมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้วกลับมาเริ่มใหม่ตั้งแต่ข้อ5 (ทำแบบนี้ทุกปี)
***ถ้าเราเริ่มปลูกใหม่ก็ไปหาซื้อต้นพันธุ์มาเลยและมาเริ่มปลูกตั้งแต่ข้อ 4

ที่มา  :  http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=10181.0

5 ก.ย. 2553

ข้อเสนอแนะ ของพี่เกษม

 ผมเข้าไปตั้งกระทู้ขอความรู้ในการปลูกพุทรา มีพี่ใจดีเสนอแนะมาประมาณนี้ครับ เลยขออนุญาติมันมาลงด้วย ผมยกมาทั้งดุ้นเลยนะครับ



"สำหรับ ข้อเสนอแนะ  ผมขอเสนอในเรื่องกว้างๆที่เป็นแนวทางจะดีกว่านะครับ เพราะปัญหาการเกษตรจะมีทุกวัน ซ้ำบ้าง ไม่ซ้ำบ้าง ต้องคอยแก้และป้องกันตลอดเวลาครับ
1.พื้นฐานการเกษตร “อย่าปลูกพืช เพราะอยากปลูก แต่จงปลูกก็ต่อเมื่อเรารู้นิสัยและเข้าใจพืช”
2.การป้องกัน ย่อมได้ผลกว่าการตามแก้
3.อย่ายึดติดอะไรสุดกู่จนงมงาย การพัฒนาอย่างช้าๆ ย่อมไดดีกว่าการพัฒนาแบบก้าวกระโดด
4.ทำเกษตร “อินทรีย์ชีวภาพ นำ เคมีวิทยาศาสตร์เสริม”
5.เหนื่อยสมอง เหนื่อยแรง เมื่อเริ่มต้น จะดีกว่า  จะมาเหนื่อยสมอง เหนื่อยแรง เมื่อทำไปแล้ว
ในเรื่องพุทรานั้นก็มีเป็นเรื่องกว้างๆพอสังเขป ส่วนรายละเอียดนั้นเอาไว้คุยกันในคราวต่อไปดีกว่าครับ
พุทรา จะเจริญทางยาวและเรียว เร็วมากครับ ดังนั้นจึงต้องหมั่นยกกิ่งให้ขึ้นชี้ฟ้า หรืออาจจะต้องตัดยอดกิ่งประธานออก เพื่อให้เกิดกิ่งแขนงใหม่ และกิ่งที่เกิดใหม่ก็จะออกดอกออกผลตามมา
พุทรา จัมโบ้เมื่อติดผล ผลจะมีน้ำหนักถึงขนาดทำให้กิ่งฉีกขาดได้ และเมื่อกิ่งฉีกเพียงนิดเดียวจะมีผลเสียต่อผลทันที ดังนั่นจึงควรมีการผูกมัดรั้งกิ่ง
หากมีการให้อาหารอย่างสม่ำเสมอ พุทราก็จะมีการออกดอกติดผลต่อเนื่องตลอดปี
ควรมีการห่อผล หลังจากที่ผลมีขนาดเท่าเหรียญสิบ เพื่อป้องกันแมลงวันทองและหนอนแดง
การให้น้ำควรมีการให้อย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องหยุดน้ำ
กรณีใช้ปุ๋ยเคมีทางดิน ระยะสะสมเนื้อ และก่อนเก็บเกี่ยว ควรใช้ 8-24-24 จะดีกว่า 13-13-21 และไม่ควรใช้มาก
พึง ระวัง กรณีที่ใช้ตอพื้นเมืองเสียบยอดตอพันธุ์ดี เนื่องจาก พุทรามีการเจริญเติบโตเร็วมาก และเกษตรกรมีการตัดแต่งต่อเกือบทุกปี ดังนั้นจึงควรรู้ตำแหน่งต่อยอดตอกับกิ่งพันธุ์ว่า อยู่ตำแหน่งใด ไม่งั้นหากตัดแต่งเอาตอเตี้ยๆ จะเผลอไปตัดเอากิ่งพันธุ์ดรออกไปด้วย
ในช่วงที่เราปลูกใหม่ๆ ลองปลูกพืชผักสวนครัว ลงในหลุมเดียวกัน เพื่อจะได้ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์เต็มที่
ครับ ลองพิจารณานะครับ มีปัญหาก็เข้ามาสอบถาม พูดคุยได้ครับ ยินดีให้คำแนะนำ ยกเว้นเรื่องหัวใจครับ...

ที่มาจาก http://www.takeang.com/takeang_forums/index.php?topic=627.msg12730   "

เริ่มได้ซักที

สวัสดีครับ ตั้งใจจะทำ blog ไว้อ่านเล่นๆ เขียนประสบการณ์ ในการทำสวนเกษตรของตัวเองคิดไว้หลายอาทิตย์แล้วครับเพิ่งได้เริ่มวันนี้เป็นวันแรกจริงๆ บทความนี้เป็นบทความแรกของ Blog ครับผม นั่งเรียบเรียงตั้งนานกว่าจะออกมาเป็นคำ และอยากบอกว่าแต่ละคำออกมาจากใจจริงๆครับเพราะตั้งใจจิ้มทีละตัวอะครับไม่ใช่ว่ากลัวแต่ผมเก่งมากครับ ในการจิ้มดิ้ด วันนี้คงต้องขอเล่าย้อนอดีตซักหน่อยเพื่อให้เห็นความเป็นมาและเป็นไปนะครับ ผมเริ่มโครงการสวนเกษตรตั้งกะปีที่แล้ว (2552) จากการรับราชการได้ย้ายกลับมาดูแล ครอบครัวที่บ้านเกิด จึงมานั่งนึกว่าเราพอมีเวลาว่างช่วงเย็น กับเสาร์ อาทิตย์น่าจะทำให้เกิดประโยชน์และเพิ่มรายได้กับครอบครัวเราด้วย จนถึงวันนี้ 5 กันยายน 2553 ได้เริ่มทำตามแผนที่วางไว้ ได้ประมาณ 6 เดือนแล้วครับ จำไม่ได้ว่าเริ่มวันใหนแน่ ^^"

      ทำอะไรก็ต้องมีทุนนะครับ สำหรับทุนผม เริ่มต้นจากการกู้เงินสวัสดิ์การครับ ก็ราวๆ 50,000 บาทครับ เอ...ตอนนี้ไม่รู้ว่าเกินแล้วยังหว่า..เพราะซื้อมาเพิ่มเรื่อยๆ ผมเองเริ่มจากไม่มีอุปกรณ์อะไรน่ะครับ ที่บ้านห่างจากทำเกษตรนานแล้วเพราะไปค้าขายแทน ดังนั้นอุปกรณ์ การเกษตรต่างๆก็ซื้อใหม่บ้างยืมบ้าง พักหลังจะเริ่มซื้อเองหมดครับเพราะเกรงใจเจ้าของเค้า แต่ดีนะครับที่ผมพอมีที่พอที่จะทำตามฝันของผมอยู่ถึงจะไม่กี่ไร่ และดินไม่ค่อยดี อต่อย่างน้อยก็หมดปัญหาปัจจัยหลักไปได้ครับ เพราะหลายๆท่านอยากทำเกษตรแต่ไม่มีที่ อ้าวแล้วทำยังไง ก็ไปเช่าเค้าดิ อืม ต้นทุนเพิ่มครับ เอาเป็นว่าอย่างน้อยผมก็มีที่แปลงหนึ่ง ไม่ค่อยสวยแต่เราจะทำยังไงให้ดินดีสวยมาคิดกัน

    ทำอะไรก็ต้องมีแผนครับ อย่างเกษตรเรามีที่อยู่แค่นี้เราจะปลูกอะไรดีถึงจะคุมค่าต้นลงต่ำ ราคาดี สำหรับผมแล้ว แผนมันมาเรื่อยๆครับ เปลี่ยนตลอด อิอิ เอาน่ะ เรามันเกษตรสมัยใหม่อยู่แล้ว แล้วไปติดตามโครงการ หรือแผนการเกษตรของผมกันนะครับ วันนี้คงต้องขอตัวเอาหัวไปสระผมก่อนนะครับ สวัสดี