24 ก.พ. 2554

การปลูกข่า

ข่า

อาหาร จากพืชประเภทปรุงรสแต่งกลิ่น ?ข่า? ซึ่งอยู่คู่ครัวคู่ปากคนไทยมานาน โดยเฉพาะต้มยำหลากหลาย หากไม่มีข่าเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการปรุงรส ต้มยำนั้นก็ไม่ใช่ต้มยำ แม้เวลาเราไปจ่ายตลาด เมื่อต้องการซื้อเครื่องต้มยำเพื่อไปปรุงอาหาร แม่ค้าก็จะให้ชุดต้มยำซึ่งจะประกอบไปด้วย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ นอกจากกลิ่นฉุนรสเผ็ดร้อนแล้ว ยังมีคุณสมบัติในทางสมุนไพรต่อร่างกายคนและสัตว์อีกด้วย ปัจจุบัน ?ข่า?เป็นพืชอาหารสมุไพรชนิดหนึ่งที่ทั่วโลกยอมรับ

ข่ามีสองชนิด คือ ข่าหยวกและข่าเหลือง(ที่สวนก็มี) ข่าเป็นพืชกินหัวหรือเหง้าส่วนที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีการเจริญเติบโตออกทางข้างรอบตัวของแม่หรือหัวที่ใช้ปลูกครั้งแรก ที่หัวแม่นี้จะมีข้อและที่ข้อจะมีตา และที่ตานี่เองจะงอกเป็นหน่อโผล่พ้นดินขึ้นมา จากนั้นก็จะแตกหัวแขนงออกมาอีก จากหลายๆหน่อที่ปลูกก็จะแตกออกกลายเป็นกอใหญ่ที่มีหัวหรือเหง้าจำนวนมาก
ธรรมชาติ ของพืชหัวหรือเหง้า จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุมากที่ความลึกประมาณ 15-30 ซม. มีความชื้น 50-80 เปอร์เซ็นต์สม่ำเสมอ และต้องการแสงแดด 100% สำหรับในช่วงอากาศหนาวเย็นการเจริญเติบโตจะช้าลง


การเตรียมดิน

- ควรไถเปิดหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 ซม. พร้อมกับใส่อินทรียวัตถุ แกลบดิบ เศษหญ้า เศษฟาง เศษใบไม้ ฯลฯ แล้วทำการไถย่อยให้ดินและอินทรียวัตถุเข้ากัน เพราะข่าชอบดินร่วนปนทราย เมื่อเวลาทำการย่อยสลายจะเป็นธาตุอาหารและอุ้มความชื้นได้ดี
- ต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หากทำเป็นแปลง ให้ยกแปลงเป็นหลังเต่าป้องกันน้ำขัง ขนาดกว้าง ยาวตามความเหมาะสม
-ใช้ฟางหรือเศษวัชพืชแห้งคลุมหน้าดิน แล้วรดด้วยน้ำจุลินทรีย์ เพื่อเป็นการบ่มดิน

การเตรียมกล้าพันธุ์
วิธีที่ 1
- ใช้หัวหรือแง่งแก่จัด จะให้ผลดีกว่าหัวหรือแง่งอ่อน โดยตัดเป็นท่อนยาว 3-4 นิ้ว มี ข้อ+ตา 4-5 ตา ตัดก้านใบหรือต้นให้เหลือ 5-6 นิ้ว หรือจะตัดออกหมดเลยก็ได้ แต่ถ้ามีหน่อใหม่ติดมา ที่เพิ่งโผล่พ้นดินก็ให้เก็บไว้ สามารถนำไปปลูกต่อได้
- ล้างหัวพันธุ์ให้สะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา ระวังอย่าให้รากช้ำ เพราะรากสามารถเจริญเติบโตได้ แผลที่เป็นรอยตัด ให้เอาปูนแดงกินหมากทาทุกแผล จากนั้นให้นำไปผึงลมในร่มปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จึงนำไปปลูก

วิธีที่ 2
-ใช้หัวหรือแง่งแก่จัดทีซื้อมาจากตลาดใน สภาพที่ยังสด มีตาตามข้อเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องมีราก ตัดแต่งรอยช้ำ หรือเน่าที่หัวออกให้หมด แล้วนำไปแช่น้ำยากันรา จากนั้นนำขึ้นมาผึงลมในร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก
- นำหัวพันธุ์ที่ได้มาห่มความชื้น โดยการห่อด้วยผ้าชื้นน้ำหนาๆ นำไปเก็บไว้ในร่ม...หรือ ห่มกระบะโดยมีฟางรองพื้นหนาๆ วางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยฟางหนาๆอีกชั้น รดน้ำให้ชุ่มเก็บในที่ร่ม...หรือ จะนำลงเพาะชำในขี้เถ้าแกลบก็ได้ โดยใช้เวลาการห่มความชื้น 10-20 วัน รอให้รากงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป

การปลูก
-ขุด หลุมกว้างประมาณ 30 ซม. ลึก 10 ซม. นำดินที่ขุดขึ้นมาคลุกกับเมล็ดสะเดา หรือใบสะเดาแห้ง สัก 1-2 กำมือ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่หมักดีแล้วสัก 1 กระป่องนม ผสมดินปลูก พร้อมกับปรับหลุมให้เรียบ
- จากนั้นวางท่อนพันธุ์แบบนอนทางยาว โดยให้ส่วนตาชี้ขึ้นด้านบน จัดรากให้ชี้กางออกรอบทิศทาง ใส่หลุมละ 1-2 หัว ห่างกัน 1-2 ฝ่ามือ แล้วกลบดินโดยทำเป็นโคกสูงขึ้นมาเล็กน้อยๆ ไม่ต้องกดดินให้แน่น แล้วคลุมหน้าดินด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้งใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นหน้าดิน
-ระยะการปลูก ควรจัดระยะระหว่างหลุม .80-1.00 ม. ระหว่างแถว 1.00-1.20 ม.
-หลังจากที่ปลูกเสร็จแล้วให้รดน้ำตามทันที

การปฏิบัติและบำรุง
-หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 15-20 วัน รากจะเริ่มเดิน ในช่วงนี้ควรให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง และให้น้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเอง 7-10 วันครั้ง
-ให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก ทุก 1-2 เดือน/ครั้ง แล้วรดด้วนน้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเองตามทันที
-ถ้า มีหน่อใหม่แทงขึ้นมา ซึ่งในช่วงแรกจะมีสีแดง บางรายอาจจะขุดขึ้นมารับประทานหรือนำไปขายเป็นข่าอ่อน   แต่ถ้าต้องการเก็บไว้เพื่อเอาหัวหรือแง่ง ก็ให้นำเศษฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุม เพื่อป้องกันแสงแดด แล้วปล่อยไว้ให้กลายเป็นสีเขียวเพื่อพัฒนาเป็นต้นใหญ่ต่อไป
-การที่เอา เศษวัชพืช เศษหญ้า เศษฟางมาคลุมหน้าดินบริเวณโคนกอข่า เป็นการรักษาความชื้นหน้าดิน ซึ่งข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นหน้าดิน แต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดีด้วย  การเจริญเติบโตจึงจะสมบูรณ์และงาม
-การ ที่เราจะรู้ว่าข่ามีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ ให้สังเกตดูว่า ข่าจะมีการแตกหน่อใหม่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ ก้านใบอวบอ้วนใหญ่ ใบหนาเขียวเข้ม
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ข่าอ่อน ให้ขุดเมื่อเริ่มออกดอกชุดแรก โดยการเปิดหน้าดินโคนต้นบริเวณที่จะเอาหน่อ แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนที่ต้องการ
ข่า แก่ ให้ขุดเมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2 หรือมีหน่อเกิดใหม่ 5-6 หน่อ เมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2-3  ก็จะได้หน่อหรือแง่งที่แก่ขึ้นไปอีก ทั้งขนาดและปริมาณก็มากขึ้นไปด้วย
-การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3-4 แง่ง เพื่อเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งทำให้การปลูกข่าเพียงครั้งเดียว ก็สามารถอยู่ได้เป็นสิบปี
-หลังจากที่ขุดเอาหัว แง่งไปแล้ว ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินทุกครั้ง เพื่อความสมบูรณ์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน
-หลัง จากขุดเอาหัวหรือแง่งขึ้นมาแล้ว ต้องทำความสะอาดล้างเอาเศษดินที่ติดมาออกให้หมด แล้วตัดแต่งให้เรียบร้อย จากนั้นให้นำไปแช่ลงในน้ำสารส้ม ซึ่งจะช่วยให้หัวข่าขาวสะอาด และเป็นการรักษาให้ข่าแลดูสดได้นานวัน
นอกจากนี้ การปลูกข่าแซมในสวนไม้ผล  กลิ่นของใบข่าจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ ส่วนหัวหรือแง่งก็ยังป้องกันแมลงศัตรูพืชใต้ดินได้อีกด้วย นอกจากนั้น ข่ายังทำให้สภาพอากาศโดยรอบเย็นสบาย มีสภาพร่มเย็น

ข้อมูล นายเกษมโคราช แห่งบ้านตะเกียง  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

20 ก.พ. 2554

ก่อนคิดจะทำสวน

เนื่องจากการดูแล-รักษา บำรุงไม้ผลต่างๆภายในสวน มุ่งเน้น
1. ไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมี และสารเคมี โดยไม่จำเป็น
2.  นำความรู้จากภายนอกผสมกับความรู้ที่สะสมมาจากประสบการณ์ ออกมาเป็นแบบเกษตรของตนเอง
3.  มุ่งเน้นคุณภาพให้ใกล้เคียงของเดิมที่เป็นธรรมชาติ มากกว่าปริมาณ
4.  ผลิตเพื่อบริโภคภายใน เหลือจึงจำหน่าย(ไม่จ่ายแจก  แต่ใครขอก็ให้)
5. ลดต้นทุนการผลิตลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่กระทบหรือมีผลในทางเสียหายต่อผู้ผลิตและผลผลิต
6. ไม่มุ่งเน้นข้อจำกัดในเรื่องเวลา
หลักการของการดำเนินการ เราแบ่งเป็นส่วนๆ เพื่อง่ายต่อการบำรุงดูแล ไม้ผลของเราดังนี้
1. การเตรียมดิน
2. การเตรียมกล้า และการบำรุง-ดูแล
3. การปลูก
3.1 ระยะกล้า
3.2 ระยะแต่ง
4.การเตรียมความพร้อมเพื่อการออกดอก
5.การบำรุงระยะดอกและเริ่มติดผล
6.การบำรุงผลอ่อน
7.การบำรุงผลระยะขยายตัว
8.การบำรุงผลระยะใกล้เก็บเกี่ยว
9.การเก็บเกี่ยว
10.การดูแลไม้ผลหลังเก็บเกี่ยว
หลัง จากการที่เราได้แบ่งส่วนต่างๆตามระยะความเจริญเติบโตของไม้ผลแล้ว เพื่อเป็นการง่ายและสะดวกต่อการเข้าดูแล ประการต่อมาก็คือ ธาตุสารอาหารต่างๆ และสมุนไพร ที่ใช้ในการป้องกัน (ขอเน้นว่าป้องกัน) แมลงศัตรูและโรคที่จะเข้าทำลายพืช ในระยะต่างๆ และ ณ ที่สวนจะใช้ธาตุสารและฮอร์โมน รวมทั้งสมุนไพรที่ทำขึ้นเอง โดยสามารถนำมาใช้ร่วมกับไม้ผลได้ทุกชนิด ซึ่งสูตรต่างๆของการทำนั้น ณ เวลานี้ขอข้ามไปก่อนยังไม่เอ่ยถึงรายละเอียดเพราะ คงต้องใช้ เนื้อหา และเวลา พอสมควร แต่จะกล่าวถึงเพียงชื่อเท่านั้น ซึ่งผมเองก็คาดว่า หลายๆท่านก็คงทราบดีว่า ทำอย่างไรแต่ถ้าท่านใดไม่ทราบจริงๆ ก็สอบถามไปได้ที่กระทู้เกษตรหรรษานี่แหละ

ธาตุอาหาร-ฮอร์โมนจำเป็นที่ใช้อยู่ในสวน ก็มี
1.ปุ๋ยมูลสัตว์ ขี้วัว ขี้ไก่ เท่าที่จะหามาได้
-  เป้าหมาย เพื่อเป็นการปรับสภาพดินให้มีวัตถุแทรกอยู่ในเนื้อดิน (ไม่มุ่งเน้นธาตุอาหารที่มีอยู่ในมูลสัตว์เหล่านี้ เพราะใช้แล้วหมดไป เราจึงต้องคอยเติมให้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม)
- หากผู้ใดไม่สะดวกในการจัดหา ก็ไม่ต้องดิ้นรน เมื่อพอมีกะตังค์ก็ซื้อที่เขาทำสำเร็จรูปแล้วจะดีกว่า เพราะ สะดวกและประหยัดกว่าทุกประการ
2. แกลบดิบและขี้เถ้าแกลบ
- เป้าหมายเหมือนมูลสัตว์ แต่ ที่ดีกว่าคือ แกลบเป็นวัตถุดิบที่คงนานย่อยสลายช้า เมื่อแทรกอยู่ระหว่างดินจะทำให้น้ำและอากาศสามารถเข้าสู่ลงดินได้เป็นอย่าง ดี และแกลบยังช่วยอุ้มความชื้นได้
- ขี้เถ้าแกลบ ด้วยคุณสมบัติของเขาที่มีความเป็นด่างอยู่ในตัว จึงช่วยแก้ไขเรื่องดินเป็นกรดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และเป็นศัตรูของจุลินทรีย์ทำลาย จึงสามารถทำให้ดินปลอดจุลินทรีย์ศัตรู
3.ธาตุอาหารต่างๆที่ใช้เป็นมาตรฐาน
-ปุ๋ยน้ำสูตร พื้นฐาน
เป้าหมาย เพื่อเป็นสารอาหารให้แก่พืชทุกระยะความเจริญเติบโต และเป็นการป้องกันพืชขาดสารอาหาร
-ฮอร์โมน/ธาตุรอง-เสริมที่จำเป็นต่อระยะความเจริญเติบโตของพืช
เป้า หมาย  เนื่องจากความต้องการสารอาหารของพืชในแต่ละช่วงความเจริญเติบโต พืชต้องการสารอาหารแตกต่างกันไป ซึ่งโดยธรรมชาติอาจจะมีไม่เพียงพอ โดยเราจะสังเกตว่า การออกดอก ติดผลและผลผลิตจะไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราจะต้องศึกษาให้เข้าใจและรู้ว่าพืชในแต่ละช่วง เขาต้องการอะไร เราจึงต้องนำมาเสริมให้เพียงพอต่อความต้องการ เช่น
ช่วงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก เราใช้ ปุ๋ยน้ำปกติสลับกับการให้ฮอร์โมนไข่
ช่วงติดผล  แคลเซี่ยม-โบรอน (ทำเอง) และสลับกับ ปุ๋ยน้ำยืดขั้วผล สลับกับการให้ปุ๋ยน้ำสูตรพื้นฐาน
ช่วงผลโต แคลเซี่ยม-โบรอน(ทำเอง)+ฮอร์โมนผลไม้
ช่วงขยายผล ไซโตคินนิน(ทำเอง)+แคลเซี่ยม-โบรอน(ทำเอง)+ฮอร์โมนผลไม้
ช่วงผลแก่ ไซโตคินนินขยายทางข้าง(ฝรั่ง-กระท้อน-พุดทรา-ลิ้นจี่)หรือทางยาว(มะม่วง)+แคลเซี่ยม-โบรอน(ทำเอง)+ฮอร์โมนผลไม้
จะ เห็นว่า มีสารอาหารเพียงไม่กี่ตัว เพียงแต่เราต้องรู้จักหยิบนำมาใช้ให้ถูกจังหวะเท่านั้นเอง และการใช้ทุกครั้ง จำเป็นที่จะต้อง ใช้สมุนไพรป้องกันโรค-ศัตรูพืช ทุกครั้ง ซึ่งสมุนไพรที่สวนใช้อยู่ก็เป็นสมุนไพรที่หาง่ายมากๆ ไม่ต้องลำบากดั้นด้นหาให้มันยุ่งยาก เช่น สะเดาทั้ง 5 ,พริกสด,ขิง,ข่า.ตะไคร้แกง,ตะไรไคร้หอม,ยาเส้น(ฉุน),ใบยาสูบ(ถ้ามี),ใบ มะกรูด,ผลมะกรูด,สาบเสือ,ใบสดยูคา,ขมิ้นชัน,กระเพราขาว-แดง เท่านี้ก็พอ แต่ถ้าใครหาได้มามากกว่านี้ก็ยิ่งดี หรือจะหามาปลูกได้ก็ยิ่งเหมาะมาก วิธีการทำ ก็ง่ายๆไม่ต้องวิชาการ เพราะน่าเบื่อ ของผมก็นำเอาวัสดุที่หามาได้ (จะเท่าใดไม่ต้องคำนึงมาก-น้อย ครบไม่ครบ)นำไปสับพอเป็นชิ้นหยาบๆ ไม่ต้องตำ(ยุ่งยาก) แล้วเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนที่1 เอาไปต้มกับน้ำเหมือนต้มยำนั่นแหละ ใส่น้ำให้ท่วมเป็น 2 เท่าของวัตถุดิบ พอน้ำเดือดก็ต้องคนไปเรื่อยๆจนน้ำลดลงเหลือ ครึ่งหนึ่ง จากนั้นก็เอากากออก(อย่าทิ้ง นะจ๊ะ เพราะจะเอาไปคลุกกับดิน เพื่อการอื่นต่อไปได้ จ๊ะ) พอเหลือแต่น้ำเราเอา วัตถุดิบส่วนที่ 2 ใส่ลงไป แล้วเติมน้ำเพิ่มจากส่วนแรกที่มี ให้เป็น 2 เท่า ของวัตถุดิบ แล้วต้มเคี่ยวต่อไป จนน้ำลดเหลือ ครึ่งหนึ่ง ทีนี้เราก็กรองหรือตักกากสมุนไพรออก แล้วปล่อยให้น้ำสมุนไพรเย็นตัวลงปกติ จากนั้นจึงกรองเอาแต่น้ำเท่าที่ใครจะสามารถกรองได้ บรรจุใส่ภาชนะที่มี ปิดฝาติดฉลากบอก ให้เรียบร้อย ทีนี้เวลาเรานำเอาออกมาใช้ ก็เอาไปแค่ 10 ช้อนกินข้าวผสมกับน้ำ 1 ปี๊บ( 15-20 ลิตร) นำไปฉีดพ่นตอน ช่วงเย็นๆ แดดร่มลมตก
เวลาเราจะใช้สารธรรมชาติเหล่า มันมีข้อจำกัดอยู่ อันนี้ถ้าเกษตรกรไม่เข้าใจ/ไม่รู้ จะเป็นสาเหตุให้ เสียทรัพย์และเวลา โดยไม่จำเป็น ซึ่งเห็นมามากแล้ว กล่าวคือ หากเราให้ธาตุ/สารอาหารต่อพืช ซึ่งจะต้องเข้าไปอยู่ในส่วนของต้นพืชเท่านั้น จึงจะเกิดประโยชน์ เหมือนกับเราๆท่านๆ ถ้าไม่อ้าปากก็จะกินอาหารยังไงได้ล่ะ จริงไม๊ แต่คนเรานะ มันกินไม่เลือกเวลาและกินทุกอย่าง กินดะไปหมด แตกต่างจากพืช เขากินอยู่ 2 ทาง คือ ทางใบ ซึ่งปากใบจะเปิดในช่วงสายๆ แดดเริ่มมี ก็ประมาณ 8.30-11.00 น. อันเป็นเวลาที่เหมาะสม (อันนี้เป็นความสังเกตเฉพาะตัว แล้วใครจะบ้าฉีดตอนแดดร้อน หน้ามืดเป็นลม ชักแง๊กๆ) ทีนี้ใครเคยลองสังเกตหรือเปล่าว่า ถ้าเราให้อาหารดีมีประโยชน์ พืชก็จะดูสดใส(สังเกตเอาเองนะ) แต่ถ้าสารที่เข้าไปเป็นพิษ เขาก็จะแสดงอาการออกมาให้เห็นเลย (อันนี้ก็ต้องสังเกตเอาเองเหมือนกัน)  ทีนี้ทางที่ 2 ก็คือ ทางราก ทางนี้ดีอย่าง กินได้ ดูดซับได้ ตลอด 24 ชม. ใครชอบให้อาหารทางไหนก็ เลือกเอา แต่ที่สวนผมให้ทางใบอย่างเดียว อยากรู้ไม๊ว่าทำไม เอาละจะบอกให้ การให้อาหารทางใบโดยการฉีดพ่น เนื่องจาก สาร/ธาตุอาหารที่เราให้นั้น เราทำเองทั้งหมด ทำให้ต้นทุนต่ำมากๆ และข้อดีวิเศษสุดก็คือ เรารู้ว่าเราใช้วัตถุดิบอะไร และเป็นของแท้แน่นอน ถ้าท่านลองไปซื้อที่ร้านดูซิ ท่านจะแน่ใจแค่ไหนว่า เขามีสารอาหารครบตามที่เขาโฆษณาข้างขวด เผลอๆเจอของปลอม (ฉม..น้ำหน้า ฮิฮิ)  ทีนี้เราฉีดพ่นไม่ต้องกลัวเปลือง ฉีดให้โชกไปเลยทั้งใต้ใบ-บนใบ ให้หยดติ่งๆลงสู่ดิน ทางดินก็จะชุ่ม รากก็ดูดซับเข้าไปอีก  เห็นไม๊ ไม่ต้องไปซื้อหาปุ๋ยเคมี ให้เปลืองกะตังค์ แต่ข้อแม้ ก่อนฉีดพ่นสารอาหาร เราควรรดน้ำให้กับพืชของเราให้ชุ่มล่วงหน้าก่อน เพื่อให้ดินมีความชื้น แต่ถ้าสวนใครมีการรดน้ำสม่าเสมอ ก็สามารถฉีดได้ตามที่กำหนดได้เลย
ทีนี้ มาเรื่องการฉีดสมุนไพรป้องกัน จำเป็นจริงๆที่ต้องฉีดพ่น ในช่วงเย็นๆ อาการไม่ร้อน เพราะสมุนไพรเมื่อถูกความร้อนจากแสงแดดจะระเหย และศัตรูพืชส่วนใหญ่ มักจะเข้ามาตอนเย็น-หัวค่ำ เหมือนพวกหัวขโมยนั่นแหละ  และในช่วงนี้ปากใบของพืชก็ปิดลงแล้ว ดังนั้นสารสมุนไพรก็จะอยู่แต่ภายนอก เหมือน รปภ.
ส่วนอาหารทางดิน ก็จะให้ ปี ละ 1-2-3 ครั้ง ตามอัทธยาศรัย เท่าที่จะทำ แต่จำเป็นต้องทำทุกปี
ง่ายๆ สบายๆ เมื่อเราต้องการอาหารธรรมชาติ เราก็ทำแบบธรรมชาติ ไม่ต้องรีบร้อน ค่อยๆทำ ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น อย่าไปคำนึงถึงรายได้จากการตลาด เพราะเราไม่มีเวลาจะไปชำระดอกเบี้ย ธกส.กับเวลาจะไปปิดถนนกับใคร ที่สวนทำเหมือนคนขี้เกียจ หญ้าก็รก ตัดบ้างเว้นบ้าง ไม่รีบร้อน แต่ถ้าถามว่ารายได้จากสวนถ้าทำแบบนี้ จะอยู่รอดหรือ  คำตอบ สบายมากครับ ไม่เชื่อก็ลองคิดตามดูซิครับ
1.ผมไม่เสพอบายมุขทุกชนิด (เหล้า-เบียร์-ของมึนเมา)ไม่เล่นการพนัน ทุกรูปแบบ ไม่ฟุ่มเฟือยตามกระแส ทำตนให้โง่ที่สุด และหูหนวดตาบอดที่สุด ในเรื่องที่ไร้ประโยชน์
2.ต้นทุนการผลิตต้ำ ต่ำ ถู๊ก ถูก เสียแต่ค่าน้ำมัน กับ เครื่องมือทุนแรงที่ต้องซื้อมาครั้งเดียวเท่านั้น นอกนั้นทำเอง
3.เมื่อ มุ่งเน้นของมีคุณภาพ ใครล่ะที่ไม่อยากได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ราคาก็กำหนดเอาเอง พอใจซื้อก็ขาย ของดีๆขายแพงๆ (จริงๆด้วย) ขนาดปีนี้ ลิ้นจี่เขาปิดถนน ของผม ลิ้นจี่พันธุ์ปากช่องธรรมดา ขายโลละ 40 บาท วันเดียวหมด ไม่ต้องไปจักพรรดิกับใคร(เพราะปลูกไม่ได้) ทำของดีๆตั้งใจ เอาใจใส่ ทำเหมือนเรากินเอง เราก็ภาคภูมิใจ ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นขาประจำที่เคยซื้อกันมา ยิ่งถ้าสามารถกำหนดให้ผลผลิตออกได้ตามช่วงเทศกาลละก็ ก็ยิ่งทำรายได้เพิ่มมากขึ้น  มุกวันนี้รายได้หลักมาจากฝรั่งแป้นสีทอง ไม่เปลี่ยนสายพันธุ์ ไม่ตามกระแส เพียงทำให้ได้ ทำให้ดี เท่านั้นเองครับ
4.สัจ วาจา ความซื่อตรง-สุจริต สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าและบุคคลทั่วไป เมื่อเราเป็นฝ่ายเริ่มให้สิ่งดี ไม่ต้องรอ เราก็จะได้รับสิ่งดีตอบแทน
เพียงแค่นี้ แหละครับ ที่ผมเลี้ยงตัวเองได้
ซึ่ง ก็เป็นเรื่องการเตรียม ความพร้อม พื้นฐานก่อนที่จะเข้าสวน ทีนี้เรามาเริ่มเข้าสวนกันเลยดีกว่า เดี่ยวท่านลุงมารและสมาชิกจะเบื่อเสียก่อน (แต่ถ้าไม่เริ่มพื้นๆก่อน ท่านจะจะต่อปลายได้ยังล่ะ)


บทความโดย : พี่เกษม เกษตรหรรษา www.takeang.com

17 ก.พ. 2554

เลี้ยงกล้ายางพาราอ่อน

เลี้ยงกล้ายางพาราอ่อน
Young  Para  Rubber  Nursery


ปกตินิยมปักชำประมาณเดือนมกราคม เพื่อให้ได้ยางชำถุง 2 ฉัตร ใบยอดแก่เต็มที่ พร้อมนำไปปลูกในต้นฤดูฝน (พฤษภาคม – มิถุนายน) โดยมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

1. จัดทำเรือนเพาะชำ มุงด้วยวัสดุพรางแสงไม่น้อยกว่า 50% พร้อมระบบน้ำ
2. เตรียมถุงชำ (4.5 X 14 นิ้ว) บรรจุด้วยดินค่อนข้างเหนียวให้เต็มแน่น ระดับดินต่ำกว่าปากถุงไม่เกิน 1 นิ้ว จัดเรียงในคอกให้พร้อม เพียงพอกับจำนวนที่จะปักชำ
3. รดน้ำแปลงติดตาให้ชุ่มก่อนถอนต้น 2 – 3 วัน
4. ทำการถอนต้นตอตา

5. ตัดยอดต้นตอเหนือรอยติดตาประมาณ 8 ซม.โดยตัดให้เฉียงลงไปทางด้านตรงข้ามแผ่นตา

6. ตัดแต่งรากแขนงเดิมออกให้หมด โดยตัดให้ชิดรากแก้ว


7. ตัดรากแก้ว โดยตัดต่ำกว่ารอยระดับดินลงไปประมาณ 20 ซม.

8. ต้นตอตาที่พร้อมนำไปปักชำ กรีดพลาสติกพันตาออก โดยกรีดด้านหลังแผ่นตาตามแนวยาวของต้น


9. ต้นตอตาที่ถอนแล้ว ควรปักชำให้แล้วเสร็จภายในวันเดียวกัน แต่หากไม่สามารถปฏิบัติได้ ควรห่อหุ้มหรือคลุมด้วยกระสอบป่าน รดน้ำให้ชุ่มชื้น เพื่อป้องกันการเหี่ยวเฉา
10.. ก่อนปักชำรดน้ำถุงดินให้ชุ่ม จนดินในถุงอ่อนนุ่มทั้งถุง อาจใช้วิธีแช่ถุงดินในอ่างน้ำแล้วปักต้นตอตาก่อน จึงนำไปเรียงในคอกก็ได้ การปักให้ปักลงกึ่งกลางถุงลึกจนถึงรอยระดับดินที่ต้นตอตา หันตาไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการย้ายถุง

16 ก.พ. 2554

ข่าว สกย.รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางพารา ระยะที่3

ข่าวที่ 12/2554( 11 กุมภาพันธ์ 2554 ) สกย.รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางแปดแสนไร่ 15 ก.พ. - 15 มี.ค.54 นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ผู้อานวยการสานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม 2554 สกย. จะเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2554 - 2556 ตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง มาตรา 21 ทวิ โดยมีเป้าหมายดาเนินการในปี 2554 เนื้อที่รวม 200,000 ไร่ แบ่งเป็น ภาคเหนือ 40,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117,500 ไร่ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ 42,500 ไร่ ส่วนปี 2555 - 2556 เป้าหมายปีละ 300,000 ไร่ รวม 800,000 ไร่ เกษตรกรที่มีสิทธิ์สมัครเข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีสวนยางมาก่อน และมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของตนเอง โดยมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการรายละ 2 - 15 ไร่ จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์ยาง ปุ๋ยบารุง พืชคลุมดิน เป็นต้น อัตราไร่ละ 3,529 บาท เป็นเวลา 3 ปี พร้อมกับมีพนักงาน สกย.ให้คาแนะนาเรื่องการปลูกสร้างสวนยางและการดูแลบารุงรักษา ซึ่งตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง การปลูกสร้างสวนยางพันธุ์ดีต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 7 ปี จึงสามารถเปิดกรีดได้ ในขณะที่ต้นทุนในการปลูกสร้างสวนยาง อยู่ที่ไร่ละประมาณ 15,000 บาท เกษตรกรรายย่อยจะไม่มีทุนในการดาเนินการต่อจากปีที่ 4 – 7 สกย.จึงมีการประสานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อขอสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่าให้แก่เกษตรกรในปีที่ 4 – 7 ต่อไป
“การเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม 2554 ขอให้เกษตรกรที่มีคุณสมบัติข้างต้น ยื่นคาขอเข้าร่วมโครงการได้ที่ สกย. จังหวัดที่เกษตรกรมีหลักฐานที่ดิน หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่ สานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยางจังหวัด สานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยางอาเภอ ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์การทาสวนยางทั่วประเทศใกล้บ้านท่าน หรือศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 สกย. ถ.บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ โทร. 0 -2433 - 2222 ต่อ 411 - 419 และที่ www.rubber.co.th จะมีพนักงานตอบคาถามตลอดเวลาทาการ” ผอ.สกย. กล่าว อนึ่ง โครงการนี้เป็นโครงการที่ดาเนินการตามที่ พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์สวนยางกาหนดไว้เท่านั้น ซึ่งเคยดาเนินการระยะแรกไปแล้วตั้งแต่ปี 2532 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ หลักการคืองบประมาณที่ใช้ดาเนินการโครงการเป็นงบอุดหนุนจากรัฐบาล ไม่ใช่เงิน CESS เพราะตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง เงิน CESS จะใช้ได้เฉพาะการสงเคราะห์ปลูกแทนยางเก่าที่ไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลผลิตน้อย และเพื่อการวิจัยเกี่ยวกับยางพารา รวมทั้งการบริหารงานสงเคราะห์สวนยางเท่านั้น และที่แตกต่างจากโครงการยางล้านไร่ก็คือยางล้านไร่เกษตรกรต้องลงทุนเองทั้งหมด
***********************************
ทีมข่าวประชาสัมพันธ์ สกย. /รายงาน

>>>> หน้าข่าว สกย.

14 ก.พ. 2554

แหล่งธาตุอาหารพืช

เมื่อ เราพอรู้ว่าพืชขาดธาตุอาหารใดบ้าง หลายๆท่านก็อาจจะหาซื้อมาตามที่ถนัด บางท่านก็อาจทำขึ้นมาเอง บางท่านก็ทั้งซื้อทั้งทำ เหมือนของผมนี่แหละ เพราะบางทีบางครั้งมันก็ขาดๆไม่ครบ เพราะไม่รู้ว่าอะไรเป็นตัวบ่งบอกว่าครบ ต้นไม้พูดไม่ได้ แต่แสดงอาการได้ ทีนี้จะมาบอกเล่าเก้าสิบกันว่า เราจะหาธาตุอาหารของพืชได้จากที่ใด นอกเหนือจากร้านเฮียฮุยแล้ว.. นอกจากประสพการณ์ที่มีอยู่น้อยนิดก็ยังคงต้องพึ่งพาตำรับตำราเก่าๆที่มีอยู่ เดิมเอามาผสมกัน จะได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ธาตุอาหารในส่วนนี้จะมาจากสิ่ง ที่เป็นธรรมชาติ หมายถึง พืช ผัก สัตว์และแมลงต่างๆ โดยการที่เราจะต้องนำมาเข้าสู่วิธีการหมัก ต้ม ตุ๋น กลั่น ฯลฯ หรือวิธีอื่นใดที่ใครจะทำอย่างไรก็ได้ ขอเพียงให้ธาตุอาหารที่มีอยู่ในวัตถุดิบนั้นออกมาแล้วนำไปใช้เป็นพอ
และ ควรใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายๆ หรือแล้วแต่ใครจะสรรหาอย่างไร ผมเองยังเคยเก็บซากน้องเอ๋ง ที่โดนรถชน เอามาฝังไว้ไต้ต้น มะม่วง กระท้อน ....เรื่องจริงน่ะ ไม่ได้โม้..แม้แต่น้องก๊าบที่เลี้ยงไว้ โดนพี่เอ๋งรุมกัดตาย ก็ยังเอาร่างที่ไร้วิญญาณไปฝังให้เกิดประโยชน์เลย..... ทีนี้มาดูกันซิว่า ธาตุอาหารมันมีอยู่ที่ไหนบ้าง

ไนโตรเจน
พืช   มี ในส่วนสีเขียวเข้มแก่จัดของพืชทุกชนิด และพืชตระกูลถั่ว เช่น ก้ามปู พุทธา มะขามเทศ ทองหลาง ไมยราบ โสนทุกชนิด กระถิน ถั่ว สาหร่ายน้ำจืด
สัตว์   เมือก เลือด เนื้อ
น้ำ   น้ำฝน น้ำคาวปลา น้ำล้างเขียงหั่นเนื้อสัตว์

ฟอสฟอรัส
พืช   ราก สด แก่จัด เมล็ดในสดแก่จัด ดอกตูมสดและเกสร ใบแก่ของ ชะอม ขจร ถั่วพู กระถิน บัวบก ผักบุ้งจีน สะระแหน่ มะระ หน่อไม้ฝรั่ง ในเนื้อผลไม้ที่มีรสหวานสนิท แก่จัด สุกงอมจนออกกลิ่นฉุน เช่น ทุเรียน มะม่วง กล้วย มะละกอ ละมุด เงาะ มะเฟือง ลูกยอ ฝรั่ง และผลไม้ที่ทำไวน์ได้ทุกชนิด
สัตว์   เกร็ด ก้าง กระดูก สด/แห้ง สาหร่ายทะเล

โปรแตสเซี่ยม
พืช   เปลือก และเนื้อสุกงอมของผลไม้รสหวานทุกชนิดเช่นเดียวกันกับฟอสฟอรัส ในผลไม้ดิบสดแก่จัดเช่น ฟักทอง แตงทุกชนิด กระเจี๊ยบ พริกสด ในผักดิบสดแก่จัดที่กินได้ ผักกาดขาว ผักกาดหอม ในเศษพืชแห้งทุกชนิด ในเปลือกแก่แห้งของผลไม้ที่มีรสหวานเช่น ทุเรียน กล้วย มะละกอ ยกเว้น มังคุด เงาะ
สัตว์   เนื้อสัตว์น้ำจืด/ทะเล เครื่องในสัตว์ สาหร่ายทะเล

แคลเซี่ยม
พืช   ใน ผลผักสดแก่จัด เช่น ถั่วลันเตา แตงกวา กระเจี๊ยบ มะขามเทศมัน กระถิน มะระ มะเขือเทศดิบ มันฝรั่ง บวบเหลี่ยม..ในผักกินใบ คะน้า โขม ผักกะเฉด ยอดปอ ใบแก่ฟักทอง..ผลไม้ดิบรสฝาดแก่จัดยังไม่สุก ฝรั่ง เมล็ดแตงโม เมล็ดถั่วเขียว มะขามเทศฝาด
สัตว์   มีในเกร็ด ก้าง กระดูก เปลือกไข่ เปลือกหอย/สด/แห้ง นมสดสัตว์รีดใหม่ นมสดจืด/เปรี้ยว ไข่สด อาหารเสริมสำหรับคน ปลาป่นสำหรับสัตว์
ในสารธรรมชาติ   ยิบซั่ม หินภูเขาไฟ หินงอกหินย้อย ดินก้นถ้ำ ปูนขาว ปูนมาร์ล โดโลไมท์

แม๊กเนเซี่ยม
พืช   มี ในส่วนสีเขียวเข้มแก่จัดของพืช(เปลือก/ใบ/ตา/ต้น)ทุกชนิด เมล็ดในสดแก่จัดของพืชทุกชนิด ในผลไม้รสหวานอมเปรี้ยวสุกงอมจนออกกลิ่นฉุน เช่น สับประรด มะไฟ เชอรี่ ลูกยอ มะเฟือง ลิ้นจี่ มะยม สละ ระกำ
สัตว์   ในเกร็ด ก้าง กระดูก
ในสารธรรมชาติ   ปูนมาร์ค โดโลไมท์

ซัลเฟอร์
พืช   มีในพืชที่มีกลิ่นฉุน เช่น คึ่นฉ่าย ต้น/หัว หอมแดง ต้น/หัวหอมหัวใหญ่ ต้น/หัวกระเทียม ผักชี สะตอ
สัตว์   มีใน เมือก เลือด เนื้อ
ในสารธรรมชาติ   ยิบซั่ม กำมะถัน

เหล็ก
พืช   มี ในส่วนของตาดอกที่อั้นจัด และยอดอ่อนของพืช ในเนื้อ-ใบสดแก่ของฟักทอง ฟักเขียว เผือก กระถิน กะเฉด ผลพริกสดแก่จัด ยอดปอ กระถิน ถั่วแขกแห้ง
สัตว์   มีมากใน เมือก เลือด เครื่องในสัตว์ ไข่ นมสด

ทองแดง
พืช   มีในส่วนสีเขียวสดแก่จัดของพืชทุกชนิด เมล็ดในสดแก่จัด ในพืชตระกูลถั่ว
สัตว์   เครื่องในสดๆของพืช

สังกะสี
พืช   มี ในพืชหัวสดแก่จัดจนกินไม่ได้ เช่น ไชเท้า มันแกว มันเทศ แครอท...ในเหง้า/ไหลสดแก่จัด เช่น ผักปอด พุทธรักษา เตย ตำลึง เถาวัชพืช...ในรากสดแก่อวบของพืชที่แตกหน่อได้ เช่น กล้วย พุทธรักษา เตย..ในเมล็ดแก่จัด เช่น ฟักทอง แตงโม บวบ ถั่วเขียว

แมงกานีส
พืช   มะเขือเทศสุกลูกตำลึงสุก ผลสุกวัชพืช
สัตว์   เครื่องในสัตว์สดๆ

โมลิบดินั่ม  
พืช   มีในส่วนที่เป็นน้ำในเนื้อพืช เมล็ดอ่อน

โบรอน
พืช   ใน ผลอ่อน-ยอดอ่อน-ใบอ่อน-รากอ่อน ที่มีลักษณะกรอบ/เปราะ ยาวไม่เกิน 6 นิ้ว สามารถเด็ดได้ด้วยมือ เช่น ผักบุ้ง กะเฉด ตำลึง ผักปรังกระทกรก หรือพืชเลื้อยทุกชนิด ทั้งที่กินได้และวัชพืช...ในส่วนเปลือกของปลายกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ ขณะมีผลอ่อนอยู่ที่ปลายกิ่ง..ในผลอ่อนเช่น แตงทุกชนิด ถั่วทุกชนิด

ซิลิก้า
พืช   ในแกลบดิบ-แกลบดำ ใบหญ้าคากากน้ำตาล
ในสารธรรมชาติ   มีในหินภูเขาไฟ

โซเดี่ยม
ในสารธรรมชาติ   มูลควาย เกลือแกง
สัตว์   มีในสัตว์ทะเล

คาร์บอน
ในสารธรรมชาติ   มีในแกลบดำ ถ่าน ขี้เถ้า ควันไฟ

จิ๊บเบอเรลลิน(ฮอร์โมนขยายขนาด)
พืช(ขยาย ทางข้าง)   มีมากในน้ำมะพร้าวอ่อน หัวไชเท้า ผักปรัง ข้าวโพดหวาน ข้าวระยะน้ำนม โสมไทย หน่อไม้ฝรั่ง ....ในผลไม้ทรงแป้นระยะผลอ่อน เช่น กระท้อน ฟักทอง
พืช(ขยายทางยาว)   มีมากในผลอ่อนทรงยาว เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู มะระ ลิ้นฟ้า มะรุม หางนกยูง กระถิน ฟักเขียว บวบ พริก กระเจี๊ยบเขียว...ในยอดอ่อนพืชเลื้อยที่มีอัตราการโตเร็วมากๆ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักบุ้งนา ถั่วผี กะทกรก มันเทศ มันแกว

ไซโตคินนิน
สัตว์   มีในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง ปู กิ้งกือ หนอน แมลง กระดองปลาหมึก รกสัตว์ ไข่อ่อน

ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโต
มี อยู่ในส่วนต่างๆของพืช เช่น ต้น-ใบ-ผล-เนื้อ-เปลือก-หัว-ราก-เหง้า-ไหล ที่สดแก่จัด เนื้อเป็นเสี้ยนแข็งเหนียวจนกินไม่ได้ ทั้งพืชกินได้และวัชพืช
ต้น แก่จัด   เช่น คะน้า ผักขมหวาน ผักขมหิน กวางตุ้ง ผักบุ้ง กะเฉด ผักปรัง เถาแก่ของพืชประเภทเถาทุกชนิด เปลือกแก่เขียวสดไม้ผลยืนต้น ต้นพืชแคระแกรน
ผลแก่จัด   เช่น บวบ ฟักเขียว มะระ มะรุม ลิ้นฟ้า สะตอ ฝักหางนกยูง กระถิน น้ำเต้า ถั่วพู
เหง้า-รากแก่จัด   เช่น ตำลึง ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฟักทอง ฟักเขียว กะทกรกเตย พุทธรักษา หญ้าขน หญ้าคอมมิวนิสต์ หญ้าคา หญ้าไซ
หัวแก่จัด   เช่น ไชเท้า มันสำปะหลัง มันเทศ มันแกว มันฝรั่ง หัววัชพืชทุกชนิด

อะมิโน-โอเมก้า
สัตว์   มีในไข่สด หนอนทุกชนิด เนื้อปลาทะเลสดๆ

สารจับใบ
ในกากน้ำตาล น้ำมันปลา เหง้าตำลึง

วิตามิน อี.  
พืช   มีในเมล็ดทานตะวัน
สัตว์   มีในหนังปลา
ในสารสังเคราะห์   ครีมบำรุงผิว

วิตามิน บี.
พืช มีในจมูกข้าว

จะ สังเกตเห็นว่า วัตถุดิบตัวเดียว มีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่หลายตัว การที่จะนำเอาวัตถุดิบเหล่านี้มาแปรสภาพนั้น บางครั้งเราอาจไม่พร้อมหาผักได้ทีเดียว เราสามารถหาวัตถุดิบที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันมาทดแทนกันได้  หาสิ่งใดได้ก่อนก็หมักก่อน หรือจะเอาไปใส่ในแปลงเลยก็ได้อย่างน้อยก็เพื่อเป็นการเพิ่มสารอาหารให้แก่ พืชและดิน

การเติมหรือให้อาหารแก่พืชตรงเวลา ตรงตามความต้องการ และถูกจังหวะแม้เพียงน้อยนิด แต่บ่อยครั้ง ก็ทำให้พืชที่เราดูแลมีความสมบูรณ์ตามที่เราต้องการได้ เพียงแต่เราต้องเข้าใจก่อนว่าพืชต้องการอะไร,ช่วงไหน อย่าลืมว่า สูตรใครก็สูตรใคร วัตถุดิบดังกล่าวเป็นเพียงส่วนที่นำร่อง หลายๆท่านอาจจะดัดแปลงหรือนำวัตถุดิบตัวอื่นมีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน นำมาใช้ก็ได้ ตามท้องถิ่นที่ที่นำมาใช้


บทความจาก: เกษตรหรรษา พี่เกษม 

11 ก.พ. 2554

เตรียมสวนครับ

สวนสิ่งสำคัญน่าจะเป็น น้ำครับ

ความคืบหน้าของไร่ครับผม  ตอนนี้จะลอง ลงมะนาวในวงท่อด้วย จึงมีการเปลี่ยนแผนนิดหน่อย

ท่อแท๊งน้ำเข้าวันนี้พร้อมวงท่อ  สั่งเป็นเดือนนะเนี้ย


                เลยต้องปรับที่ปรับทาง เพื่อวางวงท่อให้ได้ระดับใกล้เคียงกัน ลังเล ลังเล


    ให้รถไถน้ามาดันดินข้างๆเข้าหาหลุดปลูกให้ไม่ต้องเหนื่อยแรงคนนะ  อิอิ  แต่ก็ 500 .-   2 ชม.



ว่าจะหาปุ๋ยหมักลงหลุมเพิ่ม ช่วงนี้แล็งมั๊กมาก  ..แต่ก็ดีครับจะได้มีเวลาเตรียมดินเตรียมน้ำ ปรับปรุงไร่เยอะขึ้นไม่ต้องรีบปลูก เลี้ยงอยู่บ้านน้ำสะดวกกว่าเยอะ

4 ก.พ. 2554

‘กล้วยหอมทองปลอดสาร’ ตลาดเลือกได้ ก้าวไกลสู่ญี่ปุ่น

“กล้วยหอมทอง” เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นมีความต้องการสูงมากกว่า 13 ปี ที่สหกรณ์ผู้บริโภคของญี่ปุ่นได้ลงนามทำสัญญารับซื้อกล้วยหอมทองกับกลุ่มผู้ ผลิตของไทย เนื่องจากความเชื่อถือในคุณภาพสินค้าที่มีความปลอดภัย ไร้สารเคมีและสารพิษตกค้างปนเปื้อน ทำให้กล้วยหอมทองของไทยสามารถโลดแล่นอยู่ได้ในตลาดญี่ปุ่น ซึ่งนับวันแนวโน้มความต้องการของตลาดยิ่งเพิ่มสูงขึ้น

นายโกศล โกมินทร์ เลขานุการกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด อ.ละแม จ.ชุมพร กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัดเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีการผลิตกล้วยหอมทองส่งออกไป ยังญี่ปุ่น โดยกลุ่มฯได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2538 แรกเริ่มมีสมาชิก 36 ราย พื้นที่ปลูกประมาณ 70 ไร่ ส่งออกปีแรกประมาณ 200 กิโลกรัม ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 580 ราย กระจายอยู่ในพื้นที่ อ.ละแม อ.พะโต๊ะ อ.หลังสวน อ.ทุ่งตะโก อ.ท่าแซะ อ.เมือง จ.ชุมพร และมีบางส่วนอยู่ในเขต อ.ท่าชนะ อ.ไชยา อ.ดอนสัก อ.ตาขุน อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี รวมพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษกว่า 1,800 ไร่  ประมาณ 80% ของสมาชิกเป็นเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก. 

ช่วงปีที่ ผ่านมา กลุ่มฯมีการผลิตและส่ง ออกกล้วยหอมทองปลอดสารไปยังญี่ปุ่น ประมาณ 2,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 21 ล้านบาท ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ปี 2550 นี้ กลุ่มฯจึงได้ปรับวิสัยทัศน์การดำเนินงานใหม่ คือ “มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างงานในชนบท งดใช้สารเคมี สร้างสัมพันธไมตรีสู่สากล” โดยมีแผนเร่งขยายฐานการผลิตให้ได้ 2,000-3,000 ไร่ ใน 4 จังหวัด ทั้งชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ ขณะนี้กลุ่มฯมีการส่งออกกล้วยหอมทอง ประมาณ 35-40 ตัน/สัปดาห์ โดยส่งออกผ่านบริษัท แพน แปซิฟิค ฟู้ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด ราคารับซื้ออยู่ที่ 14 บาท/กิโลกรัม และปีนี้ได้ตั้งเป้าที่จะผลักดันส่งออกกล้วยหอมทองดิบปลอดสารไปยังญี่ปุ่น ให้ได้กว่า 3,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 70 ล้านบาท 

นายโกศลบอก อีกว่า กลุ่มฯมีการวางแผนการผลิตล่วงหน้า  เน้นให้สมาชิกทุกแปลงจดบันทึกข้อมูลอย่างละเอียด ตั้งแต่การตรวจแปลง เตรียมดิน วัน เดือน ปีที่เริ่มปลูกกล้วย  และต้องรายงานให้กลุ่มทราบเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะเมื่อกล้วยหอมทองมีอายุ 7 เดือน ซึ่งจะเริ่มออกปลีและออกเครือ สมาชิกต้องแจ้งจำนวนเครือกล้วยที่จะส่งขายให้กลุ่มทราบ เพื่อจะได้ประมาณการผลผลิตรวมและวางแผนการตลาดล่วงหน้าได้ ขณะเดียวกันการจดบันทึกยังสามารถช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับได้ กรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาสารพิษปนเปื้อน

การปลูกกล้วยหอมทองเน้นผลิต แบบปลอดสารพิษ 100% เพื่อสร้างจุดแข็งให้กับสินค้า โดยพื้นที่ 1 ไร่ ใช้หน่อพันธุ์กล้วยประมาณ 300 ต้น สมาชิกอาจปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินระหว่างแนวต้นกล้วยเพื่อลดปัญหาเรื่อง วัชพืช กล้วยจะแตกหน่อเพิ่มจำนวนมากขึ้น ปลูกหนึ่งครั้งสามารถใช้งานได้นาน 5-8 ปี ขึ้นอยู่กับระบบการจัดการและการรักษาหน่อพันธุ์ หากพบโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวน เช่น หนอนเจาะต้นก็ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตขึ้นเอง นอกจากจะได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัยแล้ว สมาชิกยังมีสุขภาพดี ดินไม่ถูกทำลายและช่วยลดต้นทุนด้วยซึ่งอยู่ที่ 25-27 บาท/เครือ

หลัง ปลูกประมาณ 8 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายได้ โดยกล้วย 1 ต้นจะให้ผลผลิต 1 เครือเท่านั้น แต่ละเครือจะมี 6-9 หวี น้ำหนัก 10-15 กิโลกรัม/เครือ ทุกเครือที่ส่งเข้ามายังศูนย์รวบรวมผลผลิตของกลุ่มต้องถูกตรวจสอบเข้มงวด เพื่อเช็กคุณภาพให้ได้ตามเงื่อนไขที่ลูกค้ากำหนด ตั้งแต่การตรวจเช็กสีเนื้อ โดยสีเนื้อกล้วยที่ดี ต้องมีความสุกไม่เกิน 80%  และผลกล้วยต้องได้ขนาดมาตรฐาน ซึ่งกล้วยที่จะส่งออกต้องมีน้ำหนัก/ผลไม่น้อยกว่า 110 กรัม 

ทุก วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ สินค้ากล้วยหอมทองปลอดสารของกลุ่มจะไปลงตู้เรือที่ท่าเรือแหลมฉบังและขึ้น ฝั่งญี่ปุ่นที่ท่าเรือโกเบ ใช้ระยะเวลาเดินทาง 14 วัน เมื่อถึงฝั่งญี่ปุ่นต้องผ่านวิธีการทางศุลกากร โดยกล้วยทุกกล่องต้องไม่สุก ถ้าตรวจพบกล้วยสุกจะถูกนำไปทิ้งทะเลทันที ส่วนกล้วยที่เหลือต้องนำเข้าโรงบ่ม ก่อนตัดแต่งและส่งจำหน่ายให้ผู้บริโภคทั่วไป

ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มฯ มีรายได้เฉลี่ย 5,000-8,000 บาท/คน/ เดือน ทำให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น และกลุ่มฯได้เร่งถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตกล้วยหอมทองปลอดสาร พิษ รวมถึงการปลูก การดูแลรักษา การจัดการสวน และเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์กล้วยเพื่อเป็นต้นแบบให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาค กลาง เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม เพื่อให้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการ ผลิต

อย่างไรก็ตาม หากสนใจศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษ เพื่อการส่งออก สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด หมู่ 1 ต.ทุ่งคาวัด อ.ละแม จ.ชุมพร โทร. 08-9288-3796, 08-7271-6214  


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 19 มิถุนายน 2550



2 ความคิดเห็น:


ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...
ขอโทษน่ะค่ะ ถ้าเว็บนี้รบกวน รับซื้อกล้วยหอมทองจำนวนมาก ไม่เน้นผิว เน้นเนื้อข้างในค่ะ สนใจติดต่อที่             036-370188       หรือ             084-733-9001      
กนกวรรณ กล่าวว่า...
เพิ่มเติมจากข้างบนค่ะ สามารถมาส่งกล้วยหอมได้ทุกวันค่ะ ถ้ามีมากส่งมากมีน้อยส่งน้อย ราคาและปริมาณรบกวนติดต่อล่วงหน้าที่เบอร์            084-733-9001       และ             036-370188       ในเวลา 08.00-17.00 ค่ะ ขอบคุณค่ะ กนกวรรณ