16 ก.พ. 2554

ข่าว สกย.รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางพารา ระยะที่3

ข่าวที่ 12/2554( 11 กุมภาพันธ์ 2554 ) สกย.รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางแปดแสนไร่ 15 ก.พ. - 15 มี.ค.54 นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ผู้อานวยการสานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม 2554 สกย. จะเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2554 - 2556 ตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง มาตรา 21 ทวิ โดยมีเป้าหมายดาเนินการในปี 2554 เนื้อที่รวม 200,000 ไร่ แบ่งเป็น ภาคเหนือ 40,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117,500 ไร่ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ 42,500 ไร่ ส่วนปี 2555 - 2556 เป้าหมายปีละ 300,000 ไร่ รวม 800,000 ไร่ เกษตรกรที่มีสิทธิ์สมัครเข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีสวนยางมาก่อน และมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของตนเอง โดยมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการรายละ 2 - 15 ไร่ จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์ยาง ปุ๋ยบารุง พืชคลุมดิน เป็นต้น อัตราไร่ละ 3,529 บาท เป็นเวลา 3 ปี พร้อมกับมีพนักงาน สกย.ให้คาแนะนาเรื่องการปลูกสร้างสวนยางและการดูแลบารุงรักษา ซึ่งตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง การปลูกสร้างสวนยางพันธุ์ดีต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 7 ปี จึงสามารถเปิดกรีดได้ ในขณะที่ต้นทุนในการปลูกสร้างสวนยาง อยู่ที่ไร่ละประมาณ 15,000 บาท เกษตรกรรายย่อยจะไม่มีทุนในการดาเนินการต่อจากปีที่ 4 – 7 สกย.จึงมีการประสานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อขอสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่าให้แก่เกษตรกรในปีที่ 4 – 7 ต่อไป
“การเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม 2554 ขอให้เกษตรกรที่มีคุณสมบัติข้างต้น ยื่นคาขอเข้าร่วมโครงการได้ที่ สกย. จังหวัดที่เกษตรกรมีหลักฐานที่ดิน หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่ สานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยางจังหวัด สานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยางอาเภอ ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์การทาสวนยางทั่วประเทศใกล้บ้านท่าน หรือศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 สกย. ถ.บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ โทร. 0 -2433 - 2222 ต่อ 411 - 419 และที่ www.rubber.co.th จะมีพนักงานตอบคาถามตลอดเวลาทาการ” ผอ.สกย. กล่าว อนึ่ง โครงการนี้เป็นโครงการที่ดาเนินการตามที่ พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์สวนยางกาหนดไว้เท่านั้น ซึ่งเคยดาเนินการระยะแรกไปแล้วตั้งแต่ปี 2532 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ หลักการคืองบประมาณที่ใช้ดาเนินการโครงการเป็นงบอุดหนุนจากรัฐบาล ไม่ใช่เงิน CESS เพราะตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง เงิน CESS จะใช้ได้เฉพาะการสงเคราะห์ปลูกแทนยางเก่าที่ไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลผลิตน้อย และเพื่อการวิจัยเกี่ยวกับยางพารา รวมทั้งการบริหารงานสงเคราะห์สวนยางเท่านั้น และที่แตกต่างจากโครงการยางล้านไร่ก็คือยางล้านไร่เกษตรกรต้องลงทุนเองทั้งหมด
***********************************
ทีมข่าวประชาสัมพันธ์ สกย. /รายงาน

>>>> หน้าข่าว สกย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น